วันหนึ่ง ลูกศิษย์ บอกว่า อจ สอนเขียนบทความ ให้ความรู้คนอื่น ให้หน่อย
"จงสอน สิ่งที่ เราอยากรู้เมื่อเรายังเด็กกว่านี้ ไม่มีความรู้อะไร ช่วยเหลือให้เราดีขึ้น"
Teach younger you. สอนคนอื่น เหมือนสอนตัวเองที่ยังเยาว์วัย ไร้เดียงสา
แค่นี้
- อจ สุรัตน์
วันหนึ่ง ลูกศิษย์ บอกว่า อจ สอนเขียนบทความ ให้ความรู้คนอื่น ให้หน่อย
"จงสอน สิ่งที่ เราอยากรู้เมื่อเรายังเด็กกว่านี้ ไม่มีความรู้อะไร ช่วยเหลือให้เราดีขึ้น"
Teach younger you. สอนคนอื่น เหมือนสอนตัวเองที่ยังเยาว์วัย ไร้เดียงสา
แค่นี้
- อจ สุรัตน์
เคยปิ๊งแว๊บ อยู่ ๆ ก็คิดอะไรออกไหม ?
มันจะมีช่วงเวลาที่เรา แบบ ปิ๊งแว้บ มีไอเดียหรือมีความคิดใหม่ ๆ ออกมาเหมือนกับหมีที่โผล่ออกมาจากพุ่มไม้ "surprise" ฉันพบแล้ว
เอาจริงๆ อจ จะนึกอะไรออก 2 ตอนนะ คือ อาบน้ำกับขับรถ เออ ก็สงสัยนะ ทำไมเวลาตั้งใจแก้ปัญหา หรือตั้งใจคิด มันไม่ออกมาวะ
ช่วงเวลานี้ เรียกว่า "Eureka" ภาษากรีกโบราณของ "ฉันพบแล้ว" ที่มีเรื่องเล่าของ นักคณิตศาสตร์ชาวกรีกชื่อว่า อาร์คีมีดีส (Archimedes)ที่คิดการคิดมวลของทองจากการทีมันทดแทนน้ำในอ่างจนล้นออกมา
เอาหละ เรามารีวิวกันดีกว่า ว่า Eureka moment มีอะไรบ้าง แล้ว มันเกิดจากอะไร ทำไมถึงปิ๊งแว๊บ
10 "Eureka Moments": ช่วงเวลาแห่งการปิ๊งไอเดียใหม่ ๆ
---
1. ตอนอาบน้ำ
- คลาสสิกของแท้ เพราะสมองผ่อนคลาย ไม่มีสิ่งรบกวนจากหน้าจอหรือความเร่งรีบ
- คลื่นสมองเปลี่ยนเป็น “alpha wave” ซึ่งเอื้อต่อความคิดสร้างสรรค์
---
2. ตอนกำลังจะหลับ (หรือหลังตื่นใหม่ ๆ)
- ช่วง “Hypnagogia” และ “Hypnopompia” คือช่วงครึ่งหลับครึ่งตื่นที่สมองทำงานแบบ free-association
- หลายคนบอกว่าไอเดียดีที่สุดเกิดก่อนหลับ 5 นาที
3. ตอนวิ่ง หรือเดินเล่นคนเดียว
- การเคลื่อนไหวซ้ำ ๆ ทำให้สมองได้จัดระเบียบความคิดและเชื่อมโยงข้อมูลใหม่ ๆ
- Steve Jobs ชอบ “walking meetings” ก็ด้วยเหตุผลนี้
---
4. ตอนอยู่บนรถ หรือกำลังเดินทาง
- โดยเฉพาะการขับรถคนเดียว, นั่งเครื่องบิน, หรือรถไฟ—เวลาเหล่านี้คือ "liminal space" ที่เปิดโอกาสให้สมองลอยคิดนอกกรอบ
---
5. ตอนคุยเล่นกับคนที่ไม่ใช่สายเดียวกัน
- คนละวงการ = คนละชุดคำถาม
- ไอเดียใหม่มักเกิดจากการผสมข้ามขอบเขตความรู้ (cross-pollination)
---
6. ตอนที่สอนคนอื่น
- เวลาต้องอธิบายเรื่องหนึ่งให้คนอื่นเข้าใจ สมองจะพยายามจัดเรียงและเข้าใจลึกขึ้น จนอาจเห็น “วิธีใหม่” ที่ไม่เคยคิด
---
7. ตอนเล่นของเล่น หรือวาดรูปเล่น
- ไม่ต้องจริงจัง แต่ช่วยให้สมอง “หลุดกรอบ”
- เช่น การ doodle หรือเลโก้ ทำให้เกิด “associative thinking” ที่ดีต่อไอเดีย
---
8. ตอนโดนข้อจำกัดกดดัน
- ความคิดสร้างสรรค์พุ่งขึ้นเมื่อมี “ข้อจำกัด” เช่น ไม่มีงบ ไม่มีเวลา
- Necessity is the mother of invention.
---
9. ตอนฟังเพลง (โดยเฉพาะเพลงที่ไม่มีเนื้อร้อง)
- เพลงแนว ambient หรือ lo-fi hiphop สร้าง “flow state”
- สมองทำงานเหมือนฝันกลางวัน แต่นำไปสู่การเชื่อมโยงใหม่ ๆ
10. ตอนอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ
- การอยู่ในป่า เดินบนดอย หรือแม้แต่นั่งดูต้นไม้ในสวน
- สมองจะปรับจาก “task mode” เป็น “default mode” ที่เหมาะกับการตกผลึกความคิด
ของพวกเราปิ๊งแว๊บ ตอนไหน ลองแชร์กันครับ
- อจ สุรัตน์
ในแต่ละวัน เราฟังคนอื่นบ่นมามากแค่ไหน บางคนบอกว่ามาก บางคนบอกว่า ชั้นสิ เป็นคนที่บ่นมากกว่า
มันได้ระบาย ความอัดอั้นตันใจ บ่นแล้วสมองโล่ง ว่างั้น
มีครั้งนึง คนขี้บ่นบอกว่า เมื่อบ่นบางอย่างออกไป สมอง ความคิด ความรู้สึกน่าจะโล่ง ส่วนคนที่รับฟัง จะเบื่อหรือจะตั้งใจฟัง ก็เป็นเรื่องของคนฟัง เหมือนการเขวี้ยงขยะลงในถังขยะ ที่เราก็ไม่ได้สนใจว่า คนจะเอาขยะไปทิ้งที่ไหนต่อ สบายใจดี
แต่การบ่นมันดีต่อใจจริงเหรอ?
ต้องบอกว่า มันเป็นความคิดที่ผิด
“การบ่นเหมือนการระบาย แต่บ่อยครั้งมันยิ่งทำให้เราหงุดหงิดมากขึ้น” ดร.เบิร์นสตีน ผู้เชี่ยวชาญด้านสมอง กล่าว และมีงานวิจัยมากมายที่ยืนยันเรื่องนี้
งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Cerebral Cortex แสดงให้เห็นว่า **การบ่นซ้ำ ๆ จะกระตุ้นและเสริมสร้างเส้นทางประสาทในสมองที่เกี่ยวข้องกับความคิดเชิงลบ นั่นหมายความว่า ยิ่งเราบ่นมากเท่าไร สมองก็จะยิ่ง "คุ้นชิน" กับรูปแบบความคิดแบบนั้นมากขึ้น เป็นเหมือนการ “ปูทาง” ให้สมองเลือกความคิดในแง่ร้ายได้ง่ายและบ่อยขึ้น
หลักการนี้คล้ายกับการฝึกกล้ามเนื้อ หากเราออกกำลังกายกล้ามเนื้อส่วนใดซ้ำ ๆ กล้ามเนื้อส่วนนั้นก็จะแข็งแรงขึ้น ในทางเดียวกัน **การใช้เส้นทางประสาทบางเส้นทางซ้ำ ๆ จะทำให้มันถูกเสริมสร้างและกลายเป็นอัตโนมัติ นี่คือสิ่งที่เรียกว่า Neuroplasticity หรือ ความสามารถในการเปลี่ยนแปลงของสมอง
การหมุนวนอยู่กับปัญหาเดิม ๆ แบบไม่หาทางออกหรือไม่ยอมรับสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ มันจะกลายเป็น "rumination" หรือ **การครุ่นคิดซ้ำ ๆ ที่เป็นอันตรายทางจิตใจ**
นักจิตวิทยาเรียกสิ่งนี้ว่า “toxic venting” คือการระบายที่ไม่ได้ทำให้ดีขึ้น แต่กลับตอกย้ำความรู้สึกแย่ เช่น
- ยิ่งพูดยิ่งโกรธ
- ยิ่งเล่า ยิ่งรู้สึกเป็นเหยื่อ
- ยิ่งแชร์ ยิ่งเสพติดการได้รับความเห็นใจ
ดร.เจฟฟรีย์ เบิร์นสตีน นักจิตวิทยาที่มีประสบการณ์กว่า 30 ปี เสนอวิธีแก้ไขง่าย ๆ แต่ทรงพลัง นั่นคือ การถามตัวเอง (หรือถามลูก) ว่า “เมื่อเทียบกับอะไร?”
น่าสนใจไหม คำถามสั้น ๆ แค่นี้ เปลี่ยนความคิดได้เหรอ
การถามว่า “เมื่อเทียบกับอะไร?” เป็นการกระตุ้นให้เกิด การมองใหม่ (Cognitive Reappraisal) ซึ่งเป็นเทคนิคทางจิตวิทยา ที่ถูกพิสูจน์แล้วว่าช่วยคุมอารมณ์ได้ เพราะเป็นการบอกว่า มันมีมุมมองเปรียบเทียบ เปิดใจให้กว้าง ความทุกข์เรา มันปะติ๋วนะ
ตัวอย่าง
เด็กชายที่บ่นเรื่องอาหารกลางวัน: เมื่อแม่ถามเขาว่า “เมื่อเทียบกับอะไร?” เด็กชายเริ่มคิด และตอบว่า “ก็มีเด็กบางคนที่ไม่มีอาหารกลางวันกินเลย” แม้เขาจะยังไม่ชอบแซนด์วิชไก่งวง แต่ความรู้สึกขอบคุณที่เกิดขึ้นช่วยลดความหงุดหงิดลงได้
เด็ก ๆ เรียนรู้ผ่านการสังเกตพฤติกรรมของผู้ใหญ่ ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม (Social Learning Theory)
“พฤติกรรมของมนุษย์ส่วนใหญ่เรียนรู้ได้จากการสังเกตและเลียนแบบ”
ดังนั้น หากผู้ใหญ่สามารถฝึกตั้งคำถาม “เมื่อเทียบกับอะไร?” แทนการบ่นให้เป็นนิสัย เด็ก ๆ ก็จะซึมซับวิธีคิดที่ยืดหยุ่นและสร้างสรรค์นี้เช่นกัน
ลองดูคำถามกับผู้ใหญ่กัน
ผู้ใหญ่ที่กำลังเผชิญกับความผิดหวังในอาชีพ ความสัมพันธ์ หรือแม้แต่ความวิตกเรื่องอายุ ก็สามารถใช้เครื่องมือนี้ได้เช่นกัน
เช่น ชายคนหนึ่งรู้สึกว่าตัวเองประสบความสำเร็จน้อยกว่าที่ควรจะเป็น เมื่อถามตัวเองว่า “เมื่อเทียบกับอะไร?” เขาพบว่ากำลังเปรียบเทียบกับเพื่อนที่เลือกเส้นทางชีวิตต่างออกไป ซึ่งไม่ได้ดีกว่าเสมอไป นั่นสิ ความสุขมันก็ไม่ได้วัดจากการที่สูญเสีย ณ.เวลานั้น
เห็นไหม คือ ก็ไม่ได้ ว่าหุบปากห้ามบ่นเลย แต่หากมันบ่น จนเป็นนิสัยขี้บ่น มันยิ่งแย่ต่อสมองและจิตใจ ของคนบ่นเอง
อจ สุรัตน์
วันนี้มีโอกาสได้ไปร่วมงาน CMU LeX Camp 2025: Sustainable Innovation ที่จัดโดยน้อง ๆ จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (CMU) ร่วมกับ Singapore Polytechnic ต้องขอบคุณ อาจารย์ภูวา ที่ชวนไปร่วมฟัง Industrial Talk สุดพิเศษครั้งนี้ บรรยากาศเต็มไปด้วยพลังสร้างสรรค์และไอเดียใหม่ ๆ ที่น่าตื่นเต้น ได้มีโอกาสพูดคุยและแชร์เวทีกับ คุณแป๊ง จาก Dao Gift ซึ่งเป็น Social Enterprise ที่น่าสนใจมาก ๆ เพราะเขาไม่ใช่แค่ทำธุรกิจ แต่ยังมุ่งแก้ปัญหาสังคมผ่านแนวคิดที่ยั่งยืน ฟังแล้วรู้สึกได้ถึง passion และความตั้งใจจริง ๆ
งาน LeX Camp ครั้งนี้มีจุดเด่นที่ทำให้มันไม่เหมือนแคมป์ทั่วไปเลย สิ่งที่สะดุดใจคือ:
• การเรียนรู้ผ่านการลงพื้นที่ (Experiential Learning): ไม่ใช่แค่นั่งฟังในห้อง แต่ได้ออกไปสัมผัสปัญหาจริง ๆ ในชุมชน ลงมือทำจริง เห็นจริง
• การแก้ปัญหาสังคมด้วย Design Thinking: ใช้กระบวนการคิดแบบออกแบบที่ทั้งสร้างสรรค์และเป็นระบบ เพื่อหาคำตอบที่ตอบโจทย์ชุมชน
• การทำงานร่วมกันแบบนานาชาติ (Cross-Cultural Collaboration): ได้เห็นมุมมองหลากหลายจากเพื่อน ๆ ต่างชาติ อย่าง Singapore Polytechnic เปิดโลกสุด ๆ
• สร้างแนวคิด Social Enterprise จากปัญหาชุมชน: เปลี่ยน pain point ให้กลายเป็นโอกาส สร้างธุรกิจที่ทั้งได้กำไรและคืนประโยชน์ให้สังคม
ในช่วง Interactive Session 2 ชั่วโมงเต็ม บอกเลยว่าไม่น่าเบื่อเลย เพราะมีคำถามเจาะลึกจากน้อง ๆ และคำตอบที่ชวนให้คิดตามเยอะมาก มาดูกันว่ามีอะไรน่าสนใจบ้าง:
🙋♂️ สร้าง motivation ยังไงให้อยู่กับเราไปนาน ๆ?คำตอบที่ได้นี่เรียบง่ายแต่ลึกซึ้ง:
1. หาเป้าหมายในชีวิตให้เจอ - มันเหมือนเข็มทิศ ถ้ารู้ว่าตัวเองอยากไปไหน การเดินทางจะมีพลังขึ้นทันที แล้วค่อย ๆ ก้าวไปตามนั้น ไม่ต้องรีบ แต่ต้องชัด
2. หาแรงบันดาลใจจากไอดอลหรือคำพูดดี ๆ - บางทีแค่ประโยคเดียว เช่น “ถ้าไม่เริ่มวันนี้ แล้วจะเริ่มวันไหน” ก็จุดไฟในใจให้ลุกโชนได้เลย
ลองนึกภาพตามนะ ถ้าเรามีเป้าหมายเป็นไฟนำทาง และมีคำพูดดี ๆ เป็นเชื้อเพลิง ชีวิตเราจะมีพลังแค่ไหน!
🙋♂️ ทำนวัตกรรมให้ยั่งยืน (Sustainable) ได้ยังไง?ที่นี่เขาให้มุมมองว่า Sustainability ไม่ใช่แค่คำสวย ๆ แต่ต้องมีระบบรองรับ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วน:
• Innovation System: ระบบที่ทำให้ไอเดียใหม่ ๆ เกิดขึ้นได้ต่อเนื่อง
• Business System: ระบบที่ทำให้มันอยู่รอดในเชิงธุรกิจได้จริง
• Social Sustainability System: ระบบที่คอยดูแลว่า สิ่งที่เราทำจะส่งผลดีต่อสังคมในระยะยาว
เหมือนการปลูกต้นไม้เลย ถ้าอยากให้มันโตและอยู่ได้นาน ต้องมีทั้งดินดี น้ำดี และแสงแดดที่เหมาะสม ไม่งั้นมันก็แค่ต้นไม้ชั่วคราว
🙋♂️ อะไรคือสิ่งที่ขับเคลื่อนนวัตกรรมในมุมมองของอาจารย์?คำตอบคือ Community and Connection - การเชื่อมโยงกันระหว่างคนในชุมชนนี่แหละคือหัวใจสำคัญ เพราะนวัตกรรมที่ดีไม่ได้เกิดจากคน ๆ เดียว แต่มันเกิดจากการที่เราคุยกัน ระดมสมอง และช่วยกันแก้ pain point ของแต่ละฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นชุมชน ลูกค้า หรือแม้แต่ตัวเราเอง
ลองนึกถึงการต่อจิ๊กซอว์ ถ้าทุกชิ้นเชื่อมกันได้ลงตัว ภาพใหญ่ที่ออกมาก็จะสวยงามและสมบูรณ์
🙋♂️ เริ่มลงมือทำยังไงให้สำเร็จ?คำแนะนำคือ ลงมือเลย อย่ารอให้พร้อม - เริ่มจากเล็ก ๆ ก่อน แล้วปล่อยให้กระบวนการมันค่อย ๆ ถูกปรับแต่งไปตามทาง แต่ที่สำคัญคือ ต้องมีทีม เพราะไม่มีใครเก่งทุกอย่าง ทีมที่ดีเหมือนเกราะป้องกันและเครื่องขยายพลัง ช่วยให้เราไปได้ไกลกว่าที่คิด
เหมือนการเริ่มวิ่งมาราธอนน่ะ ไม่ต้องรีบสปรินต์ตั้งแต่ต้น แค่เริ่มก้าว แล้วหาเพื่อนร่วมทางดี ๆ สักคน สุดท้ายก็ถึงเส้นชัยได้
🙋♂️ ความท้าทายหลัก ๆ ที่เจอมีอะไรบ้าง?เขามองว่ามันมี 3 ระดับที่เราต้องเผชิญ:
1. World Level: โลกหมุนเร็วเหลือเกิน มีอะไรมาทำให้เราสะดุดได้ตลอด (Disrupt the Disruptor) ต้องตื่นตัว หูไวตาไว ตามให้ทัน
2. Business Level: การแข่งขันที่แท้จริงคือแข่งกับตัวเอง ต้องหา “น่านน้ำใหม่” อยู่เสมอ ความสำเร็จของเมื่อวานอาจไม่ใช่สูตรสำเร็จของวันนี้ ทุกผลิตภัณฑ์ ทุกธุรกิจ มีกุญแจของมันเอง
3. Personal Level: ท้าทายที่สุดคือตัวเราเอง อย่างที่ Peter Drucker เขียนไว้ใน Managing Oneself ว่าเราต้องรู้จักจัดการตัวเองให้ดี ทั้งชีวิตส่วนตัวและวิธีคิด ต้องหาจุดสมดุลให้เจอ
เหมือนการต่อสู้ 3 ด่านเลยเนาะ ด่านแรกคือโลกภายนอก ด่านสองคือธุรกิจ และด่านสุดท้ายคือใจเราเอง ถ้าผ่านทั้งหมดนี้ได้ นวัตกรรมที่เราทำก็จะยิ่งแข็งแกร่ง
2 ชั่วโมงในงานนี้ บอกเลยว่าได้อะไรกลับมาเต็มกระเป๋า ทั้งแรงบันดาลใจ ไอเดีย และมุมมองใหม่ ๆ ที่เอาไปใช้ได้จริง ใครที่สนใจเรื่องนวัตกรรมหรืออยากทำอะไรเพื่อสังคม ลองหาโอกาสมาร่วมงานแบบนี้ดูนะ ไม่ผิดหวังแน่นอน!
โลกเรามันหมุนด้วยอัตราเร็วเท่าเดิม นั่นคือทางกายภาพ แต่ตามความรู้สึกของเรา มันเร็วขึ้น สิ่งๆ ล้วนเปลี่ยนไปไว คนเก่งขึ้น สิ่งต่างๆ เปลี่ยนแปลงเร็ว คนรุ่นใหม่เต็มไปด้วยไอเดียเปลี่ยนแปลงโลก เราก็สงสัย เอ แล้วเค้าเอาไอเดียใหม่ ๆ มาสร้างสิ่งใหม่ ๆ ได้อย่างไร มันง่ายขนาดนั้นเลยเหรอ
จริงอยู่ที่ไอเดียอาจดูธรรมดา แต่เมื่อผ่านการวิเคราะห์ คิดใหม่ และลงมือทำ มันสามารถกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงระดับองค์กรหรือแม้กระทั่งสังคม
เรามันคนตัวเล็ก จะไปคิด ไปทำอะไรที่มันเปลี่ยนแปลงระดับมหึมาได้อย่างไร ?
แต่อย่าลืมคิดไปว่า คนที่ประสบความสำเร็จระดับเปลี่ยนแปลงโลกได้ ล้วนเริ่มจากการเป็นคนตัวเล็กทั้งนั้นแหละ
การเริ่มต้นง่ายๆ หาไอเดีย เพื่อแก้ปัญหาเดิม นั่นสำคัญ และนั่นคือที่มาของ PWR Framework — เครื่องมือ 3 ขั้นตอน จากทีมนวัตกรร MedCHIC ที่จะช่วยให้คุณ "เห็น", "เข้าใจ", และ "ลงมือ" กับไอเดียรอบตัว
จุดเริ่มต้นของไอเดียที่ดี คือปัญหาที่แท้จริง
Problem exploration
เราเจอปัญหาทุกวัน แต่เราอาจมองข้ามมันไป เพราะชินกับ “ทางเดิม” หรือ “ระบบที่เป็นอยู่”
PWR ชวนคุณถามตัวเองว่า:
1️⃣ What is the current problem?
ปัญหาปัจจุบันคืออะไร?
(คำอธิบายสถานการณ์หรือสิ่งที่ไม่เวิร์กในมุมของผู้ใช้/ลูกค้า/ทีม)
2️⃣ Who is affected & how?
ใครได้รับผลกระทบ และได้รับผลกระทบอย่างไร?
(เจาะว่าแต่ละ stakeholder ได้รับผลอย่างไร มี pain point หรือความเสี่ยงตรงไหน)
3️⃣ What assumptions are being made?
สมมติฐานที่เชื่อโดยไม่รู้ตัวมีอะไรบ้าง?
(สิ่งที่เราคิดว่า “ใช่” แต่ไม่เคยพิสูจน์ เช่น “ลูกค้าชอบแบบนี้อยู่แล้ว”
สิ่งเหล่านี้เราอาจรู้เองเมื่อมองไปรอบข้าง
เราอาจรู้โดยฟังเสียงบ่น
ไอเดียเริ่มจากปัญหาเสมอ เพราะไม่มีปัญหาเราก็ไม่รู้จะคิดไอเดียไปแก้อะไร
เมื่อคุณตั้งใจฟังโลก ไอเดียจะเริ่มก่อตัว
สิ่งที่มีอยู่ในวันนี้ ไม่ได้แปลว่าคือ “คำตอบที่ดีที่สุด”
นี่คือจุดที่คุณเริ่มตั้งคำถามกับระบบเดิม วิธีเดิม หรือผลิตภัณฑ์เดิม:
4️⃣ What solutions have failed?
แนวทางหรือเครื่องมือเดิมที่เคยลองแล้วไม่สำเร็จคืออะไร?
(ใช้ได้แต่ไม่ตอบโจทย์ ใช้แล้วไม่มีผล ใช้แล้วซับซ้อนเกินไป)
5️⃣ What are the hidden obstacles?
ข้อจำกัดหรืออุปสรรคที่ซ่อนอยู่คืออะไร?
(วัฒนธรรมองค์กร ข้อมูลไม่พร้อม เวลาไม่พอ ทีมไม่เข้าใจ ฯลฯ
6️⃣ What is the root cause behind the failure?
สาเหตุเชิงลึก (รากของปัญหา) คืออะไร?
(มองแบบระบบ ว่าอะไรคือต้นตอ: mindset, policy, process, incentive ฯลฯ)
"Every breakthrough begins with a simple question: 'Why not?'"
Micheal Siebel กล่าวว่า “เราไม่สามารถแก้ปัญหาเดิมได้ด้วยวิธีแบบเดิม”
ทางแก้อาจไม่ถูกกับปัญหาจริงๆ
หรือไม่ มันก็ใช้เวลามากเกินไปและติดข้อจำกัด
เมื่อคุณเปลี่ยนคำถาม — โลกก็จะเปลี่ยนตาม
การเปลี่ยนมุมมองของปัญหา (Problem Reframe) จะนำไปสู่การสร้างไอเดียแก้ปัญหาใหม่ (Reimagine)
Section 3: Reframe & Re-creation – พลิกมุมและสร้างสรรค์แนวทางใหม่
7️⃣ New Problem Statement (Reframe)
เมื่อนิยามใหม่ ปัญหาจริงคืออะไร?
(เขียนใหม่ให้เฉียบขึ้น โฟกัสสิ่งที่ควรแก้จริง ๆ)
8️⃣ How Might We...? (HMW)
เราจะทำอย่างไรเพื่อ...?
(ตั้งคำถามปลายเปิด เพื่อจุดประกายไอเดีย เช่น “เราจะทำอย่างไรเพื่อให้ลูกค้าเล่า pain point ด้วยความสบายใจ?”)
9️⃣ New Ideas / Re-creation
แนวคิด / Prototype / ทางออกใหม่ที่สามารถลองได้
(อาจมีหลายไอเดียก็ได้ เช่น เทคโนโลยีใหม่ กระบวนการใหม่ หรือการออกแบบใหม่)
การ Problem Reframe คืออะไร
“Problem Reframing คือกระบวนการมองปัญหาจากมุมมองใหม่ เพื่อให้เข้าใจปัญหาได้ลึกซึ้งขึ้น หรือค้นพบแนวทางแก้ไขใหม่ ๆ แทนที่จะรีบหาทางแก้ทันทีเมื่อพบปัญหา”
เราควรก้าวถอยหลังและตั้งคำถามว่า:
• นี่คือปัญหาที่แท้จริงหรือไม่?
• เราสามารถนิยามปัญหานี้ในรูปแบบอื่นได้ไหม?
• มีสมมติฐานใดที่เรายึดถืออยู่โดยไม่รู้ตัว ซึ่งอาจจำกัดความคิดของเราหรือไม่?
ซึ่งการ Reframe จะนำไปสู่การคิดทางแก้ใหม่ (Reimagine) และ นั่นคือจุดเริ่มต้นของนวัตกรรม
จาก Reframe -> Reimagine
• ช่วยเปิดความคิดสร้างสรรค์
• ป้องกันการแก้ปัญหาที่ไม่ใช่ต้นตอที่แท้จริง
• ทำให้เห็นสาเหตุที่แท้จริง ไม่ใช่แค่แก้แค่ปลายเหตุ
• เปิดโอกาสให้พบแนวทางแก้ไขที่หลากหลายมากขึ้น
มาดูตัวอย่างกันดีกว่า:
ปัญหาเดิม:
“คนไม่ใช้บันได คนใข้แต่ลิฟต์”
Reframe problem
เรามองปัญหา คือ การขึ้นบันได ต้องออกแรง คนขี้เกียจ และน่าเบื่อ และต้องใช้เวลา
“เราจะทำอย่างไรให้คนใช้บันไดแทนลิฟต์มากขึ้น?”
Reimagine
“เราจะทำอย่างไรให้การขึ้นบันไดเป็นเรื่องสนุกหรือน่าจูงใจมากขึ้น?”
การเปลี่ยนมุมมองแบบนี้อาจนำไปสู่ไอเดียใหม่ ๆ เช่น บันไดดนตรี หรือระบบสะสมแต้มเมื่อใช้บันได
ไอเดียเล็ก ๆ อาจดูไม่มีน้ำหนักในตอนแรก แต่ถ้าได้ลงมือสร้าง ทดลอง ปรับ และเล่าให้คนอื่นฟัง — มันอาจกลายเป็นสิ่งที่โลกต้องการ
ไอเดียไม่ต้องยิ่งใหญ่ — แต่มันต้อง “ขยับ” ได้
บางครั้งไอเดียที่ดีที่สุดไม่ใช่สิ่งใหม่ล้ำโลก แต่คือการเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ ที่ตรงจุด เจาะปัญหา และเกิดจากความเข้าใจผู้ใช้จริง
กรอบคิด PWR ช่วยให้คุณ:
เห็นปัญหาแบบที่ไม่เคยมอง
ตั้งคำถามกับสิ่งที่คนอื่นมองข้าม
สร้างสิ่งใหม่จากมุมที่ยังไม่มีใครเคยลอง
ถ้าคุณมีไอเดีย — ลงมือสร้างมัน
ถ้าคุณเห็นปัญหา — กล้าท้าทายมัน
ถ้าคุณอยากเปลี่ยนอะไร — เริ่มจากคำถามที่ดีกว่าเดิม
“You can't use up creativity. The more you use, the more you have.” — Maya Angelou
วันนี้...คุณอยาก “สร้าง” หรือ “เปลี่ยน” อะไรในโลกของคุณ?
วู้ดดี้ อัลเลน เคยกล่าวไว้ว่า “80% ของความสำเร็จคือการแสดงตัว” นั่นคือคำพูดที่แท้จริง ในโลกของสตาร์ทอัพและนวัตกร เราไม่อาจประสบความสำเร็จได้หากยังอยู่ในเงามืด ไม่เปิดเผยไอเดีย หรือไม่กล้าแสดงตัวออกมาให้โลกรู้
"ไม่มีใครอยากเห็นเราเด่นเกิน" อาจเป็นคำพูดที่ใช้ได้ในบางวงการ แต่ไม่ใช่สำหรับสตาร์ทอัพ การโชว์ตัวและการ pitching ไม่ใช่แค่พิธีกรรมหรือขั้นตอนที่ต้องทำตามระบบ แต่มันคือ โหมดเปิดการมองเห็น ที่ช่วยให้ไอเดียของเราถูกค้นพบ นำไปสู่โอกาสใหม่ ๆ และที่สำคัญ มันคือกระบวนการสร้างตัวเองให้เชี่ยวชาญมากขึ้น
สตาร์ทอัพรายหนึ่งที่ผ่านเวที pitching อย่างโชกโชนกล่าวไว้ว่า
“การ pitching เป็นการขยายโอกาสที่ลงทุนน้อยที่สุด”
นั่นเพราะทุกครั้งที่เราขึ้นเวที เราไม่ได้แค่ขายไอเดีย แต่เรากำลังทดสอบไอเดียของตัวเอง สื่อสารให้ชัดเจนขึ้น และเรียนรู้จากคำถามหรือข้อสงสัยที่ได้รับกลับมา
ในวงการนวัตกรรม โอกาสไม่ได้มาหาเราเอง แต่เราต้องออกไปหาโอกาส การเข้าร่วมงานอีเวนต์ พูดคุยกับนักลงทุน รับฟังคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ และสร้างเครือข่าย (networking) คือ ปัจจัยสำคัญที่แยกสตาร์ทอัพที่รอดออกจากสตาร์ทอัพที่ล้มเหลว
งานนวัตกรรมต่าง ๆ ไม่ได้เป็นแค่ที่รวมของเทคโนโลยีใหม่ ๆ แต่เป็นเวทีที่ทำให้ผู้คนได้รู้จักกัน เชื่อมต่อไอเดียเข้าด้วยกัน และสร้างพันธมิตรทางธุรกิจที่อาจเปลี่ยนอนาคตของสตาร์ทอัพได้
หากต้องเลือกทักษะที่ผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพควรมี ทักษะการขาย (Selling Skill) คือสิ่งที่ขาดไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นการขายไอเดีย ขายผลิตภัณฑ์ ขายวิสัยทัศน์ให้ทีมงานหรือนักลงทุน เราต้องรู้วิธีเล่าเรื่อง (storytelling) โน้มน้าวใจ และทำให้ผู้ฟังรู้สึกว่า นี่คือโอกาสที่พวกเขาไม่ควรพลาด
สุดท้ายแล้ว “โชว์ตัว” ไม่ใช่แค่การปรากฏกาย แต่คือการสร้างโอกาสให้กับตัวเอง ดังนั้น ถ้าคุณมีไอเดียที่ดี อย่าปล่อยให้มันติดอยู่แค่ในกระดาษ จงแสดงตัวและเปิดโอกาสให้ตัวเองอยู่เสมอ
การ "โชว์ตัว" อย่างมีกลยุทธ์เป็นสิ่งสำคัญ เราต้อง แสดงตัวอย่างชาญฉลาด ไม่ใช่แค่ปรากฏตัว นี่คือเทคนิคที่ช่วยให้การแสดงตัวของคุณมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ไม่ใช่ทุกเวทีจะเหมาะกับคุณ เลือกงานที่ตรงกับเป้าหมายของคุณ หากต้องการนักลงทุน ให้ไปงาน pitching หากต้องการพาร์ทเนอร์ ให้ไปงาน networking และหากต้องการลูกค้า ให้ไปงาน showcase
การแสดงตัวที่ดีต้องมาพร้อมกับ Key Message หรือข้อความหลักที่อยากสื่อสาร คิดให้ชัดเจนว่าคุณต้องการให้คนจำอะไรเกี่ยวกับคุณ ไม่ว่าจะเป็นไอเดีย นวัตกรรม หรือโอกาสทางธุรกิจ
การแสดงตัวในโลกจริงต้องไปควบคู่กับการสร้างตัวตนในโลกออนไลน์ LinkedIn, Twitter, Facebook Page หรือ Medium สามารถเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้คุณเป็นที่รู้จักมากขึ้น และทำให้คนที่พบเจอคุณในงานสามารถติดตามคุณต่อได้
คุณต้องสามารถสรุปตัวเองหรือไอเดียของคุณในเวลาไม่เกิน 30 วินาที นี่คือสิ่งที่เรียกว่า "Elevator Pitch" ฝึกให้ตัวเองสามารถเล่าเรื่องได้อย่างกระชับและน่าสนใจ
การ networking ที่แท้จริงเกิดขึ้นหลังจากงานจบ หากคุณได้แลกเปลี่ยน contact กับใคร จง follow-up ส่งอีเมลหรือข้อความเพื่อต่อยอดความสัมพันธ์ และทำให้โอกาสไม่จบแค่วันงาน
สุดท้ายแล้ว “โชว์ตัว” ไม่ใช่แค่การปรากฏกาย แต่คือการสร้างโอกาสให้กับตัวเอง หากคุณมีไอเดียที่ดี อย่าปล่อยให้มันติดอยู่แค่ในกระดาษ จงแสดงตัวและเปิดโอกาสให้ตัวเองอยู่เสมอ เพราะการแสดงตัวที่ถูกที่ ถูกเวลา และถูกวิธี อาจเปลี่ยนชีวิตและธุรกิจของคุณไปตลอดกาล
#กับพี่ชบา วิ่งเช้าวันที่ 2 มค 68
มันเป็นเรื่อง กรอบความคิด (mindset) และ กรอบการทำงาน (framework)
สงสัยไหมว่า…
• ทำไมบางคนออกกำลังกายจนร่างกายแข็งแรง?
• ทำไมบางคนจัดการอารมณ์ได้ดี ไม่ว่าเผชิญปัญหาแค่ไหน?
• ทำไมบางคนร่ำรวย ทำอะไรก็สำเร็จ?
นั่นสินะ ทำไม?
มันไม่ได้มาจากโชคชะตา แต่เกิดจาก Mindset และ Framework ที่ช่วยให้พวกเขามีวิธีคิดและแนวทางการลงมือทำที่ชัดเจน
Mindset กรอบความคิด: รากฐานของความสำเร็จ
Mindset หรือกรอบความคิด คือความเชื่อและทัศนคติที่เรามีต่อตนเองและโลก มีงานวิจัยจาก Carol S. Dweck ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ที่ศึกษาผลของ Fixed Mindset (กรอบความคิดแบบตายตัว) และ Growth Mindset (กรอบความคิดแบบเติบโต) พบว่า
ผู้ที่มี Growth Mindset เชื่อว่าความสามารถสามารถพัฒนาได้ผ่านการเรียนรู้และความพยายาม พวกเขาจะรับมือกับความล้มเหลวได้ดี และมองปัญหาเป็นโอกาสในการเรียนรู้ (Dweck, 2006)
ตัวอย่าง:
• ออกกำลังกายจนแข็งแรง: คนที่มี Growth Mindset มองว่าความแข็งแรงเป็นผลจากการฝึกฝน ไม่ใช่สิ่งที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด พวกเขาจึงลงมือทำทีละน้อยและพัฒนาต่อเนื่อง
มี Quote นึงที่ชอบ
Carol S. Dweck ผู้เขียนหนังสือ Mindset: The New Psychology of Success กล่าวไว้ว่า
“The view you adopt for yourself profoundly affects the way you lead your life.”
(มุมมองที่คุณมีต่อตัวเองส่งผลลึกซึ้งต่อวิธีการใช้ชีวิตของคุณ)
Framework กรอบกาคทำงาน: วิธีการทำให้สำเร็จ
Framework หรือโครงสร้างการทำงาน คือแผนหรือระบบที่ช่วยเปลี่ยนความตั้งใจเป็นการกระทำ งานวิจัยพบว่า คนที่ใช้ Framework ชัดเจนมักจะประสบความสำเร็จมากกว่า เพราะพวกเขามีขั้นตอนและเป้าหมายที่วัดผลได้
ตัวอย่าง Framework ที่มีประสิทธิภาพ:
1. SMART Goals Framework
Framework นี้ช่วยตั้งเป้าหมายอย่างชัดเจน:
• Specific (ชัดเจน): เป้าหมายต้องระบุได้ เช่น “ลดน้ำหนัก 5 กิโลกรัม”
• Measurable (วัดผลได้): เช่น ชั่งน้ำหนักทุกสัปดาห์
• Achievable (ทำได้จริง): ตั้งเป้าหมายที่ไม่เกินความสามารถ
• Relevant (เกี่ยวข้อง): สอดคล้องกับเป้าหมายชีวิต เช่น “ลดน้ำหนักเพื่อสุขภาพที่ดี”
• Time-bound (มีกำหนดเวลา): เช่น “บรรลุเป้าหมายใน 3 เดือน”
2. ABC Model
Framework นี้มาจาก Cognitive Behavioral Therapy (CBT) ช่วยจัดการอารมณ์:
• A (Activating Event): ระบุเหตุการณ์ที่กระตุ้นอารมณ์ เช่น การทะเลาะกับเพื่อน
• B (Beliefs): ระบุความคิดหรือความเชื่อ เช่น “เขาไม่ให้เกียรติเรา”
• C (Consequences): ระบุผลลัพธ์ เช่น ความโกรธและการตอบสนอง
งานวิจัยจาก Cognitive Therapy and Research พบว่า การใช้ ABC Model สามารถลดความเครียดและพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้ (Ellis & Dryden, 1997)
ตัวอย่าง: Mindset + Framework ในชีวิตจริง
1. ออกกำลังกายจนแข็งแรง:
• Mindset: เชื่อว่าการออกกำลังกายคือการลงทุนในสุขภาพ ไม่ใช่แค่การลดน้ำหนัก
• Framework: ใช้ SMART Goals เช่น เดินวันละ 30 นาที และเพิ่มขึ้นทีละ 5 นาทีทุกสัปดาห์
2. จัดการอารมณ์:
• Mindset: มองว่าความโกรธเป็นสิ่งที่จัดการได้
• Framework: ใช้ ABC Model ในการวิเคราะห์เหตุการณ์ และหาวิธีตอบสนองเชิงบวก
How to: เริ่มต้นเปลี่ยน Mindset และใช้ Framework
1. ปรับ Mindset ของคุณ:
• ฝึกมองความล้มเหลวเป็นบทเรียน เช่น ถ้าล้มเหลวในการตั้งเป้าหมาย ให้ถามตัวเองว่า “ฉันเรียนรู้อะไรจากสิ่งนี้?”
2. ใช้ Framework ชัดเจน:
• ตั้งเป้าหมายเล็ก ๆ ก่อน เช่น ออกกำลังกาย 10 นาทีต่อวัน และเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
• วางแผนเป็นขั้นตอน เช่น ใช้ SMART Goals
3. วัดผลและปรับปรุง:
• บันทึกความก้าวหน้า เช่น บันทึกการออกกำลังกายหรืออารมณ์ในแต่ละวัน
• ถ้า Framework ที่ใช้อยู่ไม่ได้ผล ให้ปรับเปลี่ยน เช่น ลดเป้าหมายให้เล็กลงเพื่อเริ่มใหม่
อจ. สรุปไว้ ง่ายๆ แบบนี้นะ
Mindset เป็นรากฐานของการพัฒนา ส่วน Framework คือเครื่องมือที่ช่วยให้การลงมือทำสำเร็จ
ดังนั้น หากเรามี Mindset ที่เหมาะสมและ Framework ที่ชัดเจน เราจะสามารถบรรลุเป้าหมายได้เหมือนกับคนที่เราชื่นชม
- อจ สุรัตน์
ปล คือ ชบามันเดินตามตลอดเลย มานั่งอุ้มมันไว้ ท่าจะคิดถึงคน ปิดปีใหม่หลายวัน
แม้ว่า TED TALK จะมี video ที่โด่งดัง สร้างสรรค์และขยายความคิดมากมาย แต่ก็มี video หนึ่งที่ทำหน้าที่กระตุกเตือนความคิดของคนหมู่มากได้ดี นั่นคือ video พูดของ Sir Ken Robinson ที่พูด TED TALK เรื่อง “Do school kill creativity?”
เป็นคำที่ย้อนแย้ง ในขณะที่สามัญสำนึกของเรา โรงเรียนคือแหล่งสร้างคน แต่กลายเป็นโรงเรียนทำลายความคิดสร้างสรรค์ของคนซะงั้น
Sir Ken Robinson in the TED TALK
วันนี้ถือโอกาส ถอดความตาม speech และ การวิเคราะห์อีกนิดหน่อย
สวัสดีครับทุกคน สบายดีกันไหมครับ? ดีมากเลยนะครับ เหตุการณ์นี้ยอดเยี่ยมมากใช่ไหม? ผมประทับใจมาก ๆ กับทุกอย่างที่ได้เห็น จนถึงขั้นคิดจะกลับบ้านแล้วครับ (เสียงหัวเราะ) ตลอดการประชุมครั้งนี้มีสามประเด็นที่วนเวียนอยู่ซึ่งเกี่ยวข้องกับสิ่งที่ผมจะพูด ประการแรกคือหลักฐานอันน่าทึ่งของความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ในทุกการนำเสนอและในตัวบุคคลทุกคนที่นี่ ความหลากหลายและขอบเขตของมัน ประการที่สอง มันทำให้เราอยู่ในจุดที่เราไม่รู้เลยว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต ไม่มีใครคาดเดาได้เลยว่าทิศทางจะเป็นเช่นไร ผมสนใจในเรื่องการศึกษา และผมพบว่าทุกคนก็สนใจในการศึกษาเช่นกัน ใช่ไหมครับ?
ถ้าคุณไปร่วมงานเลี้ยงอาหารค่ำ แล้วคุณบอกว่าคุณทำงานด้านการศึกษา ปกติแล้วคุณจะไม่ได้รับเชิญให้มาร่วมบ่อยนักหรอก (เสียงหัวเราะ) และคุณมักจะไม่ได้รับเชิญให้กลับมาอีกเลยด้วยซ้ำ (เสียงหัวเราะ) แต่ถ้าคุณบอกใครว่าคุณทำงานด้านการศึกษา คุณจะเห็นเขาหน้าซีดลงทันที พวกเขาอาจจะคิดว่า "โอ้พระเจ้า ทำไมถึงต้องเป็นฉัน" (เสียงหัวเราะ) แต่ถ้าคุณถามถึงประสบการณ์การศึกษาของเขา พวกเขาจะพยายามคุยกับคุณไม่หยุด เพราะเรื่องนี้มีความสำคัญลึกซึ้งกับทุกคนไม่ใช่เหรอครับ? เหมือนกับเรื่องศาสนาและเงินทอง
เรามีส่วนร่วมมากในเรื่องการศึกษา เพราะเป็นการศึกษาเองที่มีหน้าที่นำพาเราไปสู่อนาคตที่ไม่รู้ว่าจะเป็นอย่างไร ถ้าคิดดูดีๆ เด็กๆ ที่เริ่มเข้าโรงเรียนในปีนี้จะเกษียณในปี 2065 ไม่มีใครรู้จริง ๆ ว่าโลกจะเป็นอย่างไรในอีกห้าปีข้างหน้า แต่เราก็ยังต้องสอนพวกเขาสำหรับอนาคตนั้นอยู่ดี มันช่างคาดเดาไม่ได้อย่างน่าทึ่งจริง ๆ
เรื่องที่สามก็คือพวกเราทุกคนเห็นพ้องตรงกันว่า เด็กมีความสามารถพิเศษที่น่าทึ่งในการสร้างสรรค์ ผมหมายถึงว่าเด็ก ๆ มีความสามารถที่น่าประหลาดใจ แต่ผมคิดว่าพวกเขาไม่ใช่กรณีที่หาได้ยาก ทุกเด็กมีพรสวรรค์อันน่าทึ่งซึ่งเรามักจะมองข้ามไปอย่างไร้ความปรานี ดังนั้น ผมอยากพูดถึงการศึกษาและความคิดสร้างสรรค์ ความคิดของผมก็คือว่าในตอนนี้ ความคิดสร้างสรรค์มีความสำคัญในระบบการศึกษาเท่ากับการรู้หนังสือ เราควรให้ความสำคัญกับมันในระดับเดียวกัน
ขอบคุณครับทุกคน (เสียงปรบมือ) เอาล่ะ เหลืออีกประมาณ 15 นาที (เสียงหัวเราะ) “ตอนนั้นผมเกิด...” (เสียงหัวเราะ)
ผมเพิ่งได้ยินเรื่องราวดีๆ มาครับ ชอบมากเลย เป็นเรื่องของเด็กผู้หญิงคนหนึ่งที่อยู่ในคลาสวาดภาพ เธออายุประมาณหกขวบ นั่งอยู่หลังห้องกำลังวาดรูป ครูบอกว่าเธอไม่ค่อยสนใจเรียนสักเท่าไหร่ แต่ในคาบนี้เธอกลับตั้งใจมาก ครูเลยเดินเข้าไปถามว่า “หนูกำลังวาดอะไรอยู่?” เด็กคนนั้นตอบว่า “หนูกำลังวาดรูปพระเจ้าอยู่ค่ะ” ครูบอกว่า “แต่ไม่มีใครรู้หรอกว่าพระเจ้าหน้าตาเป็นยังไง” เด็กตอบว่า “เดี๋ยวพวกเขาก็จะรู้เองค่ะ” (เสียงหัวเราะ)
เมื่อหลายปีก่อน ลูกชายผมอายุสี่ขวบที่อังกฤษ (จริง ๆ เขาก็อายุสี่ขวบทุกที่แหละครับ ถ้าจะให้พูดตามความจริง ไม่ว่าเขาจะไปที่ไหน เขาก็ยังคงอายุสี่ขวบอยู่) เขาได้แสดงละครในงานคริสต์มาสประจำปีครับ และได้บทเป็นโยเซฟ ซึ่งพวกเราดีใจมาก ถือว่าเป็นบทนำเลยล่ะ เราจัดการพาเอเยนต์หลายคนมานั่งรอดู แต่เขาไม่ต้องพูดอะไร เพียงแค่ยืนอยู่เฉยๆ แล้วตอนที่พวกนักปราชญ์สามคนมา มีของขวัญมาด้วย หนึ่งในนั้นพูดว่า “ข้าพเจ้าขอถวายทองคำ” อีกคนพูดว่า “ข้าพเจ้าขอถวายยางไม้หอม” แล้วคนสุดท้ายพูดว่า “ข้าพเจ้าขอถวายสิ่งนี้จากแฟรงก์” (เสียงหัวเราะ)
เรื่องเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าเด็ก ๆ มักจะกล้าเสี่ยง ถ้าไม่รู้คำตอบ พวกเขาก็ยังจะลองตอบดู ไม่กลัวที่จะผิด ผมไม่ได้หมายถึงว่าความผิดพลาดเท่ากับความคิดสร้างสรรค์นะครับ แต่สิ่งที่เรารู้ก็คือ หากคุณไม่กล้าที่จะผิดพลาด คุณก็จะไม่มีทางคิดค้นอะไรใหม่ๆ ได้ และเมื่อเด็ก ๆ เติบโตขึ้น ส่วนใหญ่ก็จะเสียความสามารถนี้ไป เพราะกลัวความผิดพลาด
ความจริงแล้ว เมื่อเด็ก ๆ โตขึ้น เราก็เริ่มสอนพวกเขาโดยเน้นที่ส่วนบนของร่างกาย โดยเฉพาะที่ศีรษะ และยิ่งไปกว่านั้น เรายังเน้นแค่สมองในบางด้านเท่านั้น ถ้ามองจากมุมมองของคนต่างดาวที่มาศึกษาการศึกษาของมนุษย์ พวกเขาอาจสรุปได้ว่าเป้าหมายของการศึกษาในสังคมมนุษย์ก็คือ การผลิตศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัย นั่นแหละครับคือผู้ที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในระบบการศึกษาของเรา และแม้ว่าผมเคยเป็นหนึ่งในนั้น ผมก็ไม่คิดว่าศาสตราจารย์คือมาตรฐานสูงสุดของความสำเร็จทั้งหมด พวกเขาก็แค่คนหนึ่งในหลากหลายประเภทที่มีอยู่เท่านั้น
ระบบการศึกษาของเราเน้นหนักไปที่ความสามารถทางวิชาการ และมีเหตุผลที่เป็นเช่นนั้นครับ ในอดีตที่ผ่านมาระบบการศึกษาในรูปแบบของรัฐไม่ได้มีอยู่จริง ๆ จนกระทั่งศตวรรษที่ 19 ระบบเหล่านี้เกิดขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรม ดังนั้น ลำดับความสำคัญของวิชาต่าง ๆ ในระบบการศึกษาจึงขึ้นอยู่กับว่าอะไรที่มีประโยชน์ที่สุดสำหรับการทำงาน คุณอาจจะเคยถูกแนะนำให้อยู่ห่างจากวิชาที่คุณชอบตอนเด็ก ๆ เพราะมันไม่สามารถหาเลี้ยงชีพได้ ใช่ไหมครับ? “อย่าเรียนดนตรีเลย เธอจะเป็นนักดนตรีไม่ได้หรอก” “อย่าเรียนศิลปะเลย เธอจะเป็นศิลปินไม่ได้” คำแนะนำเหล่านี้ฟังดูเหมือนจะดี แต่ความจริงแล้วกลับผิดพลาดอย่างยิ่ง เพราะโลกปัจจุบันกำลังเผชิญกับการปฏิวัติครั้งใหญ่
นอกจากนี้ ความสามารถทางวิชาการยังกลายเป็นศูนย์กลางของความฉลาดที่เรามองกัน เพราะระบบการศึกษาถูกออกแบบให้เป็นกระบวนการเพื่อเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย การศึกษาในระบบเป็นเส้นทางยาวที่จบลงด้วยการเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย และผลลัพธ์ก็คือ หลายคนที่มีพรสวรรค์และมีความคิดสร้างสรรค์กลับคิดว่าตนเองไม่ฉลาด เพราะสิ่งที่พวกเขาถนัดไม่ถูกให้ความสำคัญในโรงเรียนหรือถูกมองข้ามไป และผมคิดว่าเราไม่สามารถปล่อยให้เป็นแบบนี้ต่อไปได้ครับ
ในอีก 30 ปีข้างหน้า UNESCO คาดการณ์ว่าจะมีคนจำนวนมากที่สำเร็จการศึกษามากกว่าที่เคยมีมาตั้งแต่ต้นประวัติศาสตร์ โลกเรากำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งจากเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงงานที่เราทำ และการเติบโตของประชากรอย่างมหาศาล ทุกวันนี้ ใบปริญญาเริ่มมีค่าน้อยลง เราเคยคิดว่าแค่มีปริญญาก็หางานทำได้แล้ว แต่ปัจจุบัน คนหนุ่มสาวหลายคนที่มีใบปริญญาต้องกลับบ้านไปเล่นเกมเพราะตำแหน่งงานเดิมที่เคยต้องการปริญญาตรี ตอนนี้กลับต้องการปริญญาโทหรือปริญญาเอก ซึ่งเป็นสภาวะที่เรียกว่า "เงินเฟ้อทางการศึกษา" มันบ่งบอกว่าระบบการศึกษากำลังเปลี่ยนแปลงไปจากรากฐาน
เราต้องกลับมาคิดใหม่เกี่ยวกับมุมมองต่อความฉลาดของมนุษย์ เรารู้ว่าสามอย่างนี้สำคัญต่อความฉลาด ประการแรก ความฉลาดมีหลายมิติ เราคิดเกี่ยวกับโลกในรูปแบบที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นผ่านภาพ เสียง การเคลื่อนไหว และความคิดเชิงนามธรรม ประการที่สอง ความฉลาดเป็นสิ่งที่มีความเคลื่อนไหวและเชื่อมโยงอย่างมหัศจรรย์ สมองของเราไม่ได้แบ่งเป็นช่องๆ แต่มีการเชื่อมโยงกัน ความคิดสร้างสรรค์ซึ่งผมนิยามว่าเป็นการมีไอเดียใหม่ที่มีคุณค่า มักเกิดจากการผสมผสานมุมมองจากหลากหลายสาขา
และประการที่สาม ความฉลาดของแต่ละคนมีความเป็นเอกลักษณ์ ผมกำลังเขียนหนังสือเล่มใหม่ที่ชื่อว่า "Epiphany" ซึ่งเป็นการสัมภาษณ์ผู้คนที่ค้นพบพรสวรรค์ของตนเอง ผมรู้สึกทึ่งกับเรื่องราวของผู้หญิงคนหนึ่งชื่อ Gillian Lynne เธอเป็นนักออกแบบท่าเต้นชื่อดัง ผมถามเธอว่า "คุณมาเป็นนักเต้นได้อย่างไร" เธอเล่าให้ฟังว่า เมื่อเธอยังเด็ก เธอมักถูกรายงานว่ามีปัญหาการเรียนรู้เพราะเธอชอบขยับตัวและไม่ค่อยตั้งใจเรียน ครูบอกพ่อแม่ของเธอว่าเธออาจมีปัญหาสมาธิสั้น แต่เมื่อเธอไปพบแพทย์ แพทย์กลับเปิดเพลงให้เธอฟังและเห็นว่าเธอลุกขึ้นเต้นตามเสียงเพลง เขาจึงบอกแม่ของเธอว่า "Gillian ไม่ได้ป่วย เธอเป็นนักเต้น พาเธอไปเรียนเต้นเถอะ"
และจากจุดนั้น เธอก็ได้เริ่มเรียนเต้น ไปโรงเรียนบัลเลต์ และในที่สุดก็กลายมาเป็นนักออกแบบท่าเต้นที่มีชื่อเสียงระดับโลก สร้างผลงานที่เป็นที่รู้จักเช่น "Cats" และ "Phantom of the Opera" ใครจะรู้ว่าหากตอนนั้นเธอถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมาธิสั้นและต้องทานยา เธออาจจะไม่ได้เติบโตมาสร้างสรรค์สิ่งเหล่านี้ให้คนทั้งโลกได้ชื่นชม
สิ่งนี้ชี้ให้เห็นว่าความหลากหลายและเอกลักษณ์ของศักยภาพมนุษย์นั้นสำคัญมาก เราไม่ควรมองการศึกษาว่าเป็นแค่เครื่องมือในการสร้างแรงงาน แต่มันควรเป็นวิธีการพัฒนาความสามารถทางธรรมชาติของแต่ละบุคคล
ผมเชื่อว่าความหวังเดียวของเราสำหรับอนาคตคือการสร้างแนวคิดใหม่เกี่ยวกับ "นิเวศวิทยามนุษย์" ซึ่งเราเริ่มที่จะมองเห็นคุณค่าความหลากหลายของความสามารถและศักยภาพในตัวมนุษย์ การศึกษาที่ผ่านมาเปรียบเหมือนการทำเหมืองสมองของเรามาโดยมุ่งเน้นแค่ทักษะบางประเภท เช่นเดียวกับการทำเหมืองเพื่อสกัดแร่ธาตุเฉพาะออกจากโลก ซึ่งวิธีนี้ไม่เพียงพอต่ออนาคตของเรา เราจำเป็นต้องคิดใหม่อย่างจริงจังเกี่ยวกับหลักการพื้นฐานที่เรานำมาใช้ในการให้การศึกษาแก่เด็ก ๆ ของเรา
TED เองก็เป็นเวทีที่เฉลิมฉลองจินตนาการของมนุษย์ เราต้องระวังให้มากว่าเราจะใช้จินตนาการนี้อย่างชาญฉลาดและหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ที่เราเคยพูดถึงในที่นี้ วิธีเดียวที่จะทำได้คือการเห็นความสามารถสร้างสรรค์ที่หลากหลายของเราในมุมมองที่มีคุณค่า และเห็นเด็ก ๆ ในฐานะความหวังของเรา
หน้าที่ของเราคือการศึกษาเด็ก ๆ ทั้งด้านความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ และความเป็นมนุษย์ เพื่อที่พวกเขาจะได้พร้อมเผชิญกับอนาคต ซึ่งเราคงไม่อาจเห็นอนาคตนั้น แต่พวกเขาจะเห็น และหน้าที่ของเราคือช่วยให้พวกเขาทำบางสิ่งที่มีความหมายกับมัน
ขอบคุณครับ
อจ ขอ สรุปข้อคิดมาให้ 10 ข้อ ที่ได้ฟังมา
10 ข้อคิดจาก Ken Robinson และการวิเคราะห์ในสถานการณ์จริง โดยเฉพาะเรื่องระบบการศึกษาและการทำงานที่เน้น KPI ที่ขาดคุณค่า
ความคิดสร้างสรรค์เทียบเท่าความรู้
Ken Robinson ชี้ให้เห็นว่าความคิดสร้างสรรค์มีความสำคัญเทียบเท่ากับการอ่านออกเขียนได้ในระบบการศึกษา แต่การศึกษาปัจจุบันกลับเน้นแค่การวัดผลและการสอบ จนละเลยความสำคัญของการส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์จริง ๆ ทั้ง ๆ ที่ความคิดสร้างสรรค์เป็นทักษะสำคัญในการแก้ปัญหาและพัฒนานวัตกรรมใหม่ มันเลยเป็นการออกแบบระบบการวิดผลด้านเดียว
ความกลัวความผิดพลาดเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้
เด็กมีธรรมชาติที่ไม่กลัวความผิดพลาด แต่ระบบการศึกษาที่เน้นคะแนนหรือ KPI กลับสอนให้กลัวที่จะผิดพลาด ทำให้คนส่วนใหญ่เติบโตขึ้นพร้อมกับการสูญเสียความกล้าที่จะลองสิ่งใหม่ ๆ เพราะกลัวล้มเหลว
ระบบการศึกษาเหมือนโรงงานผลิตแรงงาน ไม่ใช่การพัฒนามนุษย์
ระบบการศึกษาทั่วโลกมักจะมุ่งเน้นการฝึกทักษะที่มีประโยชน์ทางเศรษฐกิจแทนที่จะส่งเสริมศักยภาพที่แท้จริงในตัวคน ระบบงานในหลายองค์กรก็ใช้ KPI หรือเป้าหมายที่ทำให้พนักงานรู้สึกเหมือนถูกผลิตเพื่อความสำเร็จขององค์กร ไม่ใช่เพื่อการพัฒนาตนเอง
KPI ที่ขาดคุณค่า มักทำให้คนขาดแรงจูงใจที่แท้จริง
การตั้ง KPI แบบจอมปลอมอาจทำให้คนรู้สึกไม่เชื่อมโยงกับงานของตนเอง เพราะพวกเขามองว่า KPI เป็นเพียงเครื่องมือวัดที่ไม่มีคุณค่า สิ่งนี้ทำให้เกิดความอึดอัดและขาดแรงจูงใจในการทำงาน ซึ่งส่งผลเสียต่อความคิดสร้างสรรค์และประสิทธิภาพโดยรวม
ความฉลาดมีหลากหลายมิติ แต่การศึกษาและการทำงานมักวัดผลแค่มิติเดียว
ความฉลาดไม่ใช่แค่การคิดเชิงวิเคราะห์หรือคณิตศาสตร์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงความสามารถทางศิลปะ การเคลื่อนไหว และการคิดเชิงสร้างสรรค์ อย่างไรก็ตาม ระบบการศึกษาและ KPI ในการทำงานมักจะวัดเพียงไม่กี่มิติ ซึ่งละเลยความสามารถที่หลากหลายของมนุษย์
ระบบการศึกษาต้องมีการยืดหยุ่นมากขึ้น
Robinson เชื่อว่าการศึกษาควรออกแบบให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล ให้เด็กได้เรียนรู้และค้นหาตัวเองตามความถนัด เช่นเดียวกับองค์กรที่ควรสร้าง KPI ที่ยืดหยุ่น เพื่อให้พนักงานได้พัฒนาตนเองในแบบที่เหมาะสม
ศักยภาพในตัวมนุษย์ถูกมองข้ามในระบบที่เน้นผลลัพธ์มากเกินไป
ตัวอย่างจาก Gillian Lynne ที่พบความสามารถในการเต้นของเธอด้วยความเข้าใจและการเปิดโอกาส ในระบบการศึกษาที่เน้นการวัดผลและการควบคุม คนที่มีพรสวรรค์หรือทักษะเฉพาะตัวมักถูกมองข้ามหรือต้องปรับตัวให้เข้ากับระบบที่ไม่ได้ตอบสนองความต้องการของตนเอง
สร้างสรรค์ทักษะ "การกล้าที่จะลองผิดลองถูก"
ความสำเร็จในการสร้างนวัตกรรมใหม่เกิดขึ้นจากการกล้าทดลองและเรียนรู้จากความผิดพลาด การตั้ง KPI ที่ไม่ยืดหยุ่นอาจทำให้คนกลัวที่จะลองวิธีใหม่ ๆ ซึ่งขัดขวางการเติบโตและพัฒนานวัตกรรมที่แท้จริง
การตัดสินความสำเร็จด้วยมาตรฐานเดียวไม่ตอบสนองความหลากหลาย
ระบบที่กำหนด KPI แบบเหมารวมสำหรับทุกคนไม่สามารถสะท้อนความสำเร็จได้จริง เราควรมีการตั้งเป้าหมายที่ปรับเปลี่ยนได้ตามความสามารถและสไตล์การทำงานของแต่ละบุคคล
ระบบที่เคารพและสนับสนุนความสามารถพิเศษจะนำมาซึ่งการเติบโตที่ยั่งยืน
การให้ความสำคัญกับศักยภาพเฉพาะตัวและทักษะที่หลากหลาย ไม่ว่าจะในระบบการศึกษาหรือในองค์กร ทำให้คนรู้สึกมีคุณค่า มีแรงจูงใจที่แท้จริงในการพัฒนาตนเอง ซึ่งนำไปสู่การเติบโตที่ยั่งยืนของทั้งบุคคลและองค์กร
อจ เคยไปเดินที่พิพิทธภัณฑ์ Natural History Museum ที่ กรุงลอนดอน ด้านขวาเป็นหินสวยงามแปลกตา ไล่เรียงพร้อมคำอธิบายรูปลักษณ์และโมเลกุลต่าง ๆ ด้านซ้ายเป็นสิ่งมีชีวิตในระดับวิวัฒนาการ ไล่ตั้งแต่สัตว์เลี้อยคลาน ไปจนถึงลิง ที่ดูใกล้เคียงมนุษย์ที่สุด และเบื้องหน้าคือ Charles Darwin ผู้ช่างสังเกตุและค้นหา เป็นผู้จุดกำเนิดทฤษฎีวิวัฒนาการ
สิ่งที่ร้อยเรื่องราวรายละเอียดของสิ่งที่ทั้งมีและไม่มีชีวิต นั้นล้วนได้มาจากการสังเกตทั้งสิ้น จนนำไปสู่การเข้าใจและการค้นพบในที่สุด การสังเกตจึงเป็นเสมือนไฟที่เริ่มจุดลงบนเทียนก่อนที่มันจะให้แสดงสว่างและเห็นหนทางต่าง ๆ
การค้นพบอะไรใหม่ ๆ เริ่มด้วยการสังเกตเสมอ นั่นคือสิ่งที่ทำให้ school แหล่งกำเนิดนักคิดต่าง ๆ ได้มีวิชาสังเกตุแทรกในกระบวนวิชาในการเรียนรู้เรื่องต่าง ๆ และ School หนึ่งที่มีวิชาสังเกตแยกออกมาเลย คือ Stardford ในกระบวนวิชา The Standford Safari (สแตนฟอร์ด ซาฟารี)
"สแตนฟอร์ด ซาฟารี" เริ่มต้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2008 โดยเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรม Sophomore College ของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด หลักสูตรพิเศษนี้เกิดขึ้นจากแนวคิดของ ดร. โรเบิร์ต ซีเกล ศิษย์เก่าของสแตนฟอร์ดที่มีความผูกพันลึกซึ้งกับมหาวิทยาลัย ดร. ซีเกล ซึ่งสำเร็จการศึกษาจากสแตนฟอร์ดหลายสาขา เป็นรองศาสตราจารย์ในภาควิชาจุลชีววิทยาและภูมิคุ้มกันวิทยา โปรแกรมชีววิทยามนุษย์ และศูนย์การศึกษาภูมิภาคแอฟริกา เรียกว่า มีความรู้และความสนใจที่หลากหลาย ความรักที่เขามีต่อสแตนฟอร์ดซึ่งกินเวลานานกว่า 35 ปี และประสบการณ์ที่เขาได้รับที่มหาวิทยาลัย ได้เป็นแรงบันดาลใจให้เขาสร้างหลักสูตรที่ทำให้นักศึกษาได้สำรวจสแตนฟอร์ดในรูปแบบใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน นั้นคือกระบวนการสังเกต การสังเกตุที่สร้างสิ่งที่เป็นรายละเอียดเล็ก ๆ การสังเกตที่เป็นจุดเริ่มของมุมมองที่แตกต่าง การสังเกตที่นำไปสู่การค้นพบใหม่ ๆ
สแตนฟอร์ด ซาฟารี เป็นหลักสูตรเร่งรัดสามสัปดาห์ที่ออกแบบมาเพื่อให้นักศึกษาชั้นปีที่สอง 14 คนได้สัมผัสกับประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และสถานที่ต่าง ๆ ที่เป็นตัวแทนของประสบการณ์สแตนฟอร์ด หลักสูตรนี้เป็นการผสมผสานระหว่างแนวคิด Bing Overseas Seminar กับความรักและความผูกพันของดร. ซีเกลที่มีต่อสแตนฟอร์ด "ซาฟารี" ในภาษาสวาฮิลีแปลว่า "การเดินทาง" และการเดินทางครั้งนี้คือการสำรวจสแตนฟอร์ดในฐานะนักศึกษา ไม่ใช่แค่ในฐานะนักศึกษาของมหาวิทยาลัย แต่ในฐานะนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเอง เป้าหมายคือการกระตุ้นให้นักศึกษามองสแตนฟอร์ดด้วยสายตาที่สดใหม่ เห็นสิ่งที่เกินกว่าที่คุ้นเคย และชื่นชมกับแง่มุมพิเศษของมหาวิทยาลัยที่มักถูกมองข้าม
ตลอดหลักสูตร นักศึกษาได้ถูกนำไปเยี่ยมชมสถานที่ที่เป็นสัญลักษณ์และไม่ค่อยมีใครรู้จักของสแตนฟอร์ด ตั้งแต่ Stanford Dish และ Hanna House ไปจนถึงหอจดหมายเหตุและคอลเลกชันพิเศษที่ Green Library และสวนประติมากรรมปาปัวนิวกินี พวกเขาได้พบกับบุคคลสำคัญของสแตนฟอร์ดมากมาย รวมถึงอดีตอธิการบดีของมหาวิทยาลัย 4 คน ผู้ได้รับรางวัลโนเบล คณบดี และเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยต่าง ๆ การพบปะเหล่านี้ทำให้นักศึกษาได้รับมุมมองที่ไม่เหมือนใครเกี่ยวกับสิ่งที่ทำให้สแตนฟอร์ดเป็นสถาบันที่มีชื่อเสียงระดับโลก และแต่ละคนก็จดบันทึก ถ่ายภาพ เขียน Blog post ซึมซาบ เรื่องราวผ่านมุมมองของตัวเอง มุมมองที่จำเพาะสะท้อนความรู้สึกปัจเจก พวกเขาใช้เวลาทั้งวันในภาคสนาม หลักสูตรสิ้นสุดลงด้วยการเดินทางสามวันที่ Stanford Sierra Camp ซึ่งเป็นพื้นที่สำหรับการสะท้อนความรู้ที่ได้รับ
ส่วนหนึ่งของภาพถ่ายจาก Class Standford Safari ที่นักศึกษาถ่ายรอบ ๆ Standford >> more
ความงามของแนวคิดสแตนฟอร์ด ซาฟารี คือมันไม่ได้จำกัดเป็นแค่วิชาที่ให้เดินสังเกต มหาวิทยาลัยและสิ่งรอบตัว แต่แนวคิดนี้ ยังได้ขยายขอบเขตไปตามรากฐานของการสังเกตสิ่งที่อยู่รอบตัวคุณ หลังบ้าน ตามทางเดิน หรือที่ทำงาน
ลองพิจารณากิจวัตรประจำวันของคุณ ในขณะที่คุณก้าวออกไปข้างนอก แทนที่จะรีบวิ่งไปที่รถหรือมุ่งหน้าสู่การทำงานประจำวัน ลองหยุดสักครู่ ฟังเสียงนกร้อง—คุณสังเกตเห็นความแตกต่างของเสียงเรียกได้ไหม? ดูวิธีที่แสงอาทิตย์ส่องผ่านใบไม้และเกิดเงาที่กระจัดกระจายบนพื้น สังเกตสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ที่ทำงานอยู่ มดที่กำลังขนหาสิ่งของกลับไปที่รัง หรือแมงมุมที่ทอใยอย่างพิถีพิถัน
ในตอนแรก แนวคิดนี้อาจดูไม่น่าตื่นเต้น เพราะท้ายที่สุดแล้ว ต้นไม้ พุ่มไม้ และนกที่คุณเห็นทุกวันจะมีอะไรน่าตื่นเต้นได้อย่างไร? แต่เมื่อคุณได้ลองเพิ่งพิศในมุมมองที่แตกต่าง มุมมองอันมหัศจรรย์จะเกิดขึ้น เรื่องพิเศษที่แทรกในความปกติธรรมดานี่แหละ คือความสุดพิเศษ และมันคือทักษะของมุมมอง ที่สามารถต่อยอดได้ทั้งทางวิทยาศาสตร์ การทำงาน การทำธุรกิจ หรือแม้กระทั่งการใช้ชีวิตประจำวันทั่วไปนั่นเอง
““การได้รับความรู้ต้องศึกษา แต่การได้รับปัญญาต้องสังเกต” ”
หากพูดคำว่า system หรือ ระบบ มันคือมองในมุมของการสร้างสิ่งหนึ่งให้เติบโต โดดเด่นและคงอยู่ได้ด้วยการทำงานร่วมกันของส่วนต่าง ๆ และระบบนิเวศก็เป็นระบบบอกถึงโครงสร้างส่วนประกอบของการเกื้อกูลนั้น ๆ
แนวคิดของระบบนิเวศ (ecosystem)ได้ถูกพูดถึงอย่างหลากหลาย จะเรียกว่าเป็น Buzz word หรือ คำเท่ ๆ ก็ได้เหมือนคำว่านวัตกรรม เมื่อมันได้กลายเป็นกรอบสำคัญในการผลักดันให้บริษัท สถาบัน และบุคคลสามารถทำงานร่วมกัน เพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมและการเติบโตทางเศรษฐกิจได้
แนวคิดเรื่องระบบนิเวศไม่ใช่แค่คำพูดที่น่าดึงดูดใจ (ถ้าเข้าใจและทำได้จริง) แต่มันแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานในวิธีการสร้าง แบ่งปัน และรักษามูลค่าข้ามภาคส่วนต่างๆ โดยมุมที่มองระบบนิเวศแบ่งออกเป็นได้หลายระบบ ไม่ว่าจะเป็นระบบนิเวศทางธุรกิจ (business ecosystem), ระบบนิเวศนวัตกรรม (innovation ecosystem), ระบบนิเวศผู้ประกอบการ (entrepreneurial ecosystem) หรือระบบนิเวศความรู้ (knowledge ecosystem) แต่ละประเภทมีบทบาทและทิศทางที่ไม่เหมือนกัน
คำว่า "ecosystem" มาจากชีววิทยา ซึ่งหมายถึงชุมชนของสิ่งมีชีวิตที่มีปฏิสัมพันธ์กันและกับสภาพแวดล้อม ในบริบทของธุรกิจ ระบบนิเวศคือเครือข่ายขององค์กรที่เชื่อมต่อกัน—บริษัท ผู้จัดหาวัตถุดิบ ผู้จัดจำหน่าย ลูกค้า และแม้แต่คู่แข่ง—ที่ทำงานร่วมกันในความสัมพันธ์แบบเกื้อกูลเพื่อสร้างและส่งมอบมูลค่า แตกต่างจากโมเดลธุรกิจแบบดั้งเดิมที่มุ่งเน้นที่ห่วงโซ่อุปทานเชิงเส้นตรง ในขณะที่ระบบนิเวศจะมีความเชื่อมต่อกันมากขึ้น ทำให้มีความยืดหยุ่นและการคงอยู่ที่ทนทานมากขึ้น
Title: Innovation, entrepreneurial, knowledge, and business ecosystems: Old wine in new bottles? Author(s): Scaringella, L., & Radziwon, A. Journal: Technological Forecasting and Social Change
หากเราจะแบ่งระบบนิเวศ เราสามารถแบ่งได้ออกเป็น 4 ประเภทของระบบนิเวศหลักท ที่มีความสำคัญในการเปลี่ยนแปลงโลก
ระบบนิเวศทางธุรกิจเป็นประเภทของระบบนิเวศที่คุ้นเคยที่สุด ซึ่งเป็นเครือข่ายของบริษัทที่ร่วมมือและแข่งขันกันเพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกัน ระบบนิเวศเหล่านี้มีลักษณะเฉพาะด้วยการมุ่งเน้นไปที่การเติบโตร่วมกันและความยั่งยืน แต่ละผู้เข้าร่วมในระบบนิเวศทางธุรกิจมีบทบาทเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นผู้จัดหา ผู้จัดจำหน่าย หรือผู้ให้บริการ ทั้งหมดนี้มีส่วนร่วมในการสร้างความสำเร็จและสุขภาพโดยรวมของระบบนิเวศ ยกตัวอย่างเช่น ระบบนิเวศที่ล้อมรอบอุตสาหกรรมสมาร์ทโฟน ประกอบด้วยผู้ผลิตอุปกรณ์ ผู้ผลิตส่วนประกอบ นักพัฒนาซอฟต์แวร์ ผู้สร้างแอป และบริษัทโทรคมนาคม แต่ละฝ่ายขึ้นอยู่กับกันและกันในการสร้างและส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่ไร้รอยต่อให้แก่ผู้บริโภค ความสำเร็จของฝ่ายหนึ่งมักขึ้นอยู่กับความสำเร็จของอีกฝ่ายหนึ่ง ทำให้เกิดเครือข่ายที่พึ่งพาซึ่งกันและกัน
ระบบนิเวศนวัตกรรมมุ่งเน้นไปที่การสร้างมูลค่าใหม่ผ่านการทำงานร่วมกันและการแก้ปัญหาร่วมกัน ระบบนิเวศเหล่านี้นำพาธุรกิจ สถาบันการศึกษา ศูนย์วิจัย และหน่วยงานของรัฐบาลมารวมกันเพื่อผลักดันขอบเขตของสิ่งที่เป็นไปได้ เป้าหมายของระบบนิเวศนวัตกรรมคือการสร้างสภาพแวดล้อมที่แนวคิดสามารถพัฒนาไปสู่ผลิตภัณฑ์ บริการ หรือเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม ตัวอย่างเช่น ซิลิคอนวัลเลย์ เป็นระบบนิเวศนวัตกรรมที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก ที่นี่ บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ สตาร์ทอัพ นักลงทุนเสี่ยงภัย มหาวิทยาลัย และสถาบันวิจัยร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด สร้างพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและความสำเร็จในการประกอบการ นวัตกรรมที่เกิดขึ้นจากระบบนิเวศเช่นนี้มักมีผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่ออุตสาหกรรมทั่วโลก สร้างมาตรฐานและแนวโน้มใหม่ๆ
ระบบนิเวศผู้ประกอบการถูกออกแบบมาเพื่อสนับสนุนสตาร์ทอัพและธุรกิจใหม่ๆ โดยเฉพาะ ระบบนิเวศเหล่านี้จัดหาทรัพยากร เครือข่าย และระบบสนับสนุนที่จำเป็นสำหรับผู้ประกอบการในการเปลี่ยนแนวคิดของพวกเขาให้เป็นธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ ระบบนิเวศผู้ประกอบการเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการสนับสนุนนวัตกรรมในระดับพื้นฐาน การขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ และการสร้างงาน องค์ประกอบสำคัญของระบบนิเวศผู้ประกอบการรวมถึงการเข้าถึงเงินทุน การให้คำปรึกษา ธุรกิจฟักตัว (business incubators), accelerator และสภาพแวดล้อมทางกฎหมายที่สนับสนุน เมืองต่างๆ เช่น ออสตินในเท็กซัส และเทลอาวีฟในอิสราเอล ได้กลายเป็นศูนย์กลางของผู้ประกอบการที่มีชื่อเสียงเนื่องจากระบบนิเวศที่แข็งแกร่งที่ดึงดูดบุคลากร ทุน และแนวคิดนวัตกรรม ในระบบนิเวศเหล่านี้ การเน้นที่การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการประกอบการ รวมถึงไม่เพียงแค่ทรัพยากรทางการเงินเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการเข้าถึงความรู้ เครือข่าย และตลาด ระบบนิเวศผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จมักนำไปสู่การเกิดขึ้นของอุตสาหกรรมใหม่ๆ และสามารถเพิ่มพัฒนาทางเศรษฐกิจของภูมิภาคได้อย่างมาก
ระบบนิเวศความรู้มุ่งเน้นไปที่การสร้าง แบ่งปัน และประยุกต์ใช้ความรู้ ระบบนิเวศเหล่านี้มักตั้งอยู่รอบๆ มหาวิทยาลัย สถาบันวิจัย กลุ่มคิด และองค์กรอื่นๆ ที่มีส่วนในการพัฒนาความเข้าใจร่วมกันในสาขาเฉพาะ เป้าหมายหลักของระบบนิเวศความรู้คือการขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนา มักนำไปสู่การค้นพบและนวัตกรรมใหม่ๆ ยกตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรมยาที่ต้องพึ่งพาระบบนิเวศความรู้เป็นอย่างมาก มหาวิทยาลัยทำการวิจัยพื้นฐานที่เป็นฐานสำหรับยาตัวใหม่ๆ ขณะที่ความร่วมมือกับบริษัทเภสัชกรรมช่วยนำการค้นพบเหล่านี้สู่ตลาด ระบบนิเวศความรู้เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการแก้ปัญหาท้าทายที่ซับซ้อน เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สุขภาพของประชาชน และการพัฒนาที่ยั่งยืน
Title: Innovation, entrepreneurial, knowledge, and business ecosystems: Old wine in new bottles? Author(s): Scaringella, L., & Radziwon, A. Journal: Technological Forecasting and Social Change
แต่ละประเภทของระบบนิเวศทำงานภายในขอบเขตแนวคิดเฉพาะที่กำหนดเป้าหมาย ผู้เข้าร่วม และการปฏิสัมพันธ์ ขอบเขตเหล่านี้มีความสำคัญในการทำความเข้าใจว่าระบบนิเวศทำงานอย่างไรและสามารถจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างไร
Business Ecosystems: ขอบเขตมักถูกกำหนดโดยการแข่งขันทางการตลาด ความต้องการของลูกค้า และห่วงโซ่มูลค่า การมุ่งเน้นอยู่ที่วิธีที่ผู้เล่นต่างๆ สามารถร่วมมือกันในขณะที่ยังแข่งขันกันเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า
Innovation Ecosystems ขอบเขตที่นี่มีความยืดหยุ่นมากกว่า โดยเน้นที่การทำงานร่วมกันระหว่างสาขาวิชาต่างๆ และนวัตกรรมเปิด ผู้เข้าร่วมในระบบนิเวศนวัตกรรมมักมีความหลากหลาย ไม่เพียงแค่ธุรกิจ แต่ยังรวมถึงสถาบันการศึกษา หน่วยงานรัฐบาล และองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร
Entrepreneurial Ecosystems: ระบบนิเวศเหล่านี้ถูกกำหนดโดยโครงสร้างสนับสนุนสำหรับสตาร์ทอัพ รวมถึงการเข้าถึงทุน การให้คำปรึกษา และโอกาสในการสร้างเครือข่าย ขอบเขตมักรวมถึงสภาพแวดล้อมทางกฎหมายและความพร้อมของทรัพยากร เช่น ทรัพยากรบุคคลและเทคโนโลยี
Knowledge Ecosystems: ขอบเขตมักเน้นไปที่ด้านวิชาการหรือการวิจัย โดยมุ่งเน้นที่การสร้างและเผยแพร่ความรู้ ระบบนิเวศเหล่านี้ถูกกำหนดโดยการมีส่วนร่วมในการพัฒนาความเข้าใจในสาขาเฉพาะและการประยุกต์ใช้ความรู้นี้เพื่อแก้ไขปัญหาในโลกจริง
การเกิดการซ้อนทับของระบบนิเวศ (Ecosystem overlap) เกิดขึ้นเมื่อกิจกรรม ผู้เข้าร่วม หรือทรัพยากรภายในระบบนิเวศหนึ่งมีการเชื่อมโยงหรือทับซ้อนกับอีกระบบนิเวศหนึ่ง โดยอิงจากข้อความ:
Business Ecosystems มุ่งเน้นไปที่การแข่งขันทางตลาด ความต้องการของลูกค้า และห่วงโซ่มูลค่า อย่างไรก็ตาม ระบบนิเวศเหล่านี้มักทับซ้อนกับ Innovation Ecosystems เมื่อธุรกิจมีส่วนร่วมในงานวิจัยและพัฒนา (R&D) เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ หรือทับซ้อนกับ Entrepreneurial Ecosystems เมื่อสตาร์ทอัพใหม่ๆ เกิดขึ้นภายในอุตสาหกรรม
Innovation Ecosystems มีขอบเขตที่ยืดหยุ่นและเกี่ยวข้องกับการทำงานร่วมกันระหว่างหลายสาขา ซึ่งอาจนำไปสู่การทับซ้อนกับ Knowledge Ecosystems เมื่อการวิจัยทางวิชาการขับเคลื่อนนวัตกรรม และทับซ้อนกับ Entrepreneurial Ecosystems เมื่อการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ นำไปสู่การก่อตั้งธุรกิจใหม่
Entrepreneurial Ecosystems ทับซ้อนกับ Business Ecosystems เมื่อสตาร์ทอัพเติบโตและกลายเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมที่มีอยู่แล้ว นอกจากนี้ยังทับซ้อนกับ Knowledge Ecosystems เมื่อการประกอบการถูกขับเคลื่อนด้วยงานวิจัยใหม่ๆ หรือข้อค้นพบทางวิชาการ
Knowledge Ecosystems มักทับซ้อนกับ Innovation Ecosystems เนื่องจากการสร้างและเผยแพร่ความรู้มักนำไปสู่นวัตกรรมใหม่ๆ นอกจากนี้ยังอาจทับซ้อนกับ Business Ecosystems เมื่อความรู้นี้ถูกนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์
มุมมองด้านบนที่ครอบคลุมการทับซ้อนและการเชื่อมโยงระหว่างระบบนิเวศเหล่านี้ คุณสามารถเรียกรวมทั้งหมดได้ว่า "เครือข่ายระบบนิเวศบูรณาการ Integrated Ecosystem Network" หรือ "ระบบนิเวศบรรจบกัน Convergent Ecosystem" คำเหล่านี้สื่อถึงระบบที่ครอบคลุม ซึ่งระบบนิเวศที่แตกต่างกัน—ไม่ว่าจะเป็นระบบนิเวศทางธุรกิจ (Business Ecosystems), นวัตกรรม (Innovation Ecosystems), การประกอบการ (Entrepreneurial Ecosystems), และความรู้ (Knowledge Ecosystems)—มีการเชื่อมโยงและทำงานร่วมกัน สร้างเป็นเครือข่ายที่รวมกันเป็นหนึ่งเดียว ที่ขับเคลื่อนการทำงานร่วมกัน นวัตกรรม และการเติบโต
หนึ่งในหัวข้อหลักในการวิจัยระบบนิเวศคือแนวคิดของการสร้างและการจับมูลค่า ซึ่งหมายถึงการที่ระบบนิเวศสร้างมูลค่า—ไม่ว่าจะเป็นทางการเงิน สติปัญญา หรือสังคม—และวิธีการกระจายมูลค่านี้ไปยังผู้เข้าร่วม
ใน innovation ecosystems, มูลค้ามักถูกสร้างขึ้นผ่านการทำงานร่วมกันในโครงการวิจัยและพัฒนาที่นำไปสู่เทคโนโลยีหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ มูลค่าจะถูกจับเมื่อมีการนำนวัตกรรมเหล่านี้มาทำการค้าและนำเสนอในตลาด ส่งผลประโยชน์ให้กับผู้เข้าร่วมทุกคนในระบบนิเวศ
ใน entrepreneurial ecosystems, การสร้างมูลค่ามาจากความสำเร็จของสตาร์ทอัพ ซึ่งในทางกลับกันจะสร้างงาน สร้างกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และดึงดูดการลงทุน ระบบนิเวศจะจับมูลค่าโดยการสร้างสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนให้สตาร์ทอัพเหล่านี้สามารถเจริญเติบโตได้
ใน business ecosystems, มูลค่าจะถูกสร้างขึ้นผ่านการทำงานของห่วงโซ่มูลค่าที่มีประสิทธิภาพ โดยที่ผู้เข้าร่วมแต่ละคนมีส่วนร่วมในการผลิตหรือบริการขั้นสุดท้าย มูลค่าที่จับได้จะถูกแบ่งปันในหมู่ผู้เข้าร่วมในระบบนิเวศ ซึ่งมักนำไปสู่การเติบโตร่วมกันและความยั่งยืน
กรอบการทำงานสำหรับการจัดระเบียบการวิจัยระบบนิเวศบนพื้นฐานของขอบเขตและเป้าหมายของประเภทต่างๆ ของระบบนิเวศ กรอบการทำงานนี้ถูกออกแบบมาเพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาต่อไป ช่วยให้นักวิจัยและผู้ปฏิบัติงานเข้าใจว่าระบบนิเวศทำงานอย่างไรและวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้น กรอบการทำงานนี้เน้นความสำคัญของการทำความเข้าใจลักษณะเฉพาะของแต่ละระบบนิเวศ รวมถึงเป้าหมาย ขอบเขต และกลไกการสร้างมูลค่า โดยการใช้กรอบการทำงานนี้ นักวิจัยสามารถวิเคราะห์ประสิทธิภาพของระบบนิเวศต่างๆ และพัฒนากลยุทธ์ในการเพิ่มประสิทธิภาพ
ความคิดเรื่องระบบนิเวศได้พัฒนามาอย่างมากในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา ในตอนแรก การวิจัยเน้นไปที่บริษัทหรือความร่วมมือแบบเดี่ยว โดยให้ความสนใจน้อยกับระบบที่กว้างขึ้นซึ่งพวกเขาดำเนินการอยู่ อย่างไรก็ตาม เมื่อความซับซ้อนของตลาดโลกและนวัตกรรมทางเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น ความชัดเจนว่าต้องใช้วิธีการที่ครอบคลุมมากขึ้น ปัจจุบัน การวิจัยระบบนิเวศยอมรับความสัมพันธ์ระหว่างผู้เล่นที่ซับซ้อนและความสำคัญของการทำงานร่วมกันเพื่อการเติบโตที่ยั่งยืน การเปลี่ยนแปลงในมุมมองนี้ได้นำไปสู่ความเข้าใจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นว่าระบบนิเวศทำงานอย่างไรและวิธีการที่สามารถใช้เพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมและการพัฒนาเศรษฐกิจ
แนวคิดเรื่องระบบนิเวศไม่ใช่เพียงแค่กรอบการทำงานเชิงทฤษฎี แต่ยังมีผลกระทบในทางปฏิบัติสำหรับธุรกิจ รัฐบาล และสังคมโดยรวม เมื่อเราต้องเผชิญกับความท้าทายทั่วโลกที่ซับซ้อนมากขึ้น เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการหยุดชะงักทางเทคโนโลยี ความสามารถในการทำงานร่วมกันข้ามภาคส่วนและสาขาวิชาจะเป็นสิ่งสำคัญในการค้นหาแนวทางแก้ไข ระบบนิเวศให้โมเดลสำหรับการทำงานร่วมกันประเภทนี้ โดยเสนอกลวิธีในการควบคุมพลังร่วมของผู้เข้าร่วมที่หลากหลายเพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกัน ไม่ว่าจะผ่านการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ การสนับสนุนผู้ประกอบการ หรือการพัฒนาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ระบบนิเวศเป็นกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนนวัตกรรมและการเติบโตที่จะกำหนดอนาคต
ระบบนิเวศไม่ว่าจะเป็นทางธุรกิจ นวัตกรรม การประกอบการ หรือความรู้ กำลังเปลี่ยนแปลงวิธีที่เราคิดเกี่ยวกับการทำงานร่วมกันและการสร้างมูลค่า โดยการทำความเข้าใจประเภทต่างๆ ของระบบนิเวศและขอบเขตแนวคิดที่กำหนดพวกเขา บริษัทและสถาบันสามารถดำเนินการในภูมิทัศน์ที่ซับซ้อนนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อความคิดเรื่องระบบนิเวศยังคงพัฒนา มันจะเสนอความเป็นไปได้ใหม่ๆ ที่น่าตื่นเต้นสำหรับนวัตกรรม การเติบโต และความยั่งยืนในโลกที่เชื่อมโยงกันมากขึ้น สำหรับธุรกิจ การยอมรับความคิดเรื่องระบบนิเวศหมายถึงการยอมรับความสำคัญของการทำงานร่วมกันและการพึ่งพากัน สำหรับนักวิจัยและผู้กำหนดนโยบาย หมายถึงการพัฒนากลยุทธ์ที่สนับสนุนการเติบโตและความยั่งยืนของระบบนิเวศเหล่านี้ สุดท้าย ระบบนิเวศไม่ใช่แค่เรื่องของการแข่งขันเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของการหาวิธีใหม่ๆ ในการทำงานร่วมกันเพื่อสร้างมูลค่าที่เป็นประโยชน์ต่อทุกคน โดยการยอมรับพลังของระบบนิเวศ เราสามารถปลดล็อกระดับใหม่ของความคิดสร้างสรรค์ ประสิทธิภาพ และความสำเร็จในโลกที่พึ่งพาการทำงานร่วมกันและความเชื่อมโยงมากขึ้นเรื่อยๆ
Reference
Scaringella, Laurent, and Agnieszka Radziwon. "Innovation, entrepreneurial, knowledge, and business ecosystems: Old wine in new bottles?." Technological Forecasting and Social Change 136 (2018): 59-87.
Clarysse, Bart, et al. "Creating value in ecosystems: Crossing the chasm between knowledge and business ecosystems." Research policy 43.7 (2014): 1164-1176.
การสอนผู้ประกอบการหรือการเขียนเกี่ยวกับผู้ประกอบการมีความท้าทายอย่างมากเพราะไม่มีสูตรสำเร็จที่ชัดเจน จากตัวอย่างของผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จแต่ละคน จะเห็นได้ว่าเส้นทางของพวกเขาแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ทุกช่วงเวลาทางธุรกิจและเทคโนโลยีเป็นช่วงเวลาที่ไม่เหมือนใคร คนถัดไปที่ประสบความสำเร็จแบบ Mark Zuckerberg จะไม่สร้างเว็บไซต์เครือข่ายสังคม คนถัดไปที่ประสบความสำเร็จแบบ Larry Page จะไม่สร้างเครื่องมือค้นหา และคนถัดไปที่ประสบความสำเร็จแบบ Bill Gates จะไม่สร้างบริษัทระบบปฏิบัติการ การลอกเลียนแบบบุคคลเหล่านี้หมายความว่าไม่ได้เรียนรู้จากพวกเขาจริง ๆ การทำธุรกิจไม่มีวิทยาศาสตร์แน่นอนเพราะวิทยาศาสตร์ต้องอาศัยการทำซ้ำและการทดลองที่สามารถตรวจสอบได้ ในขณะที่บริษัทที่ยอดเยี่ยมทุกแห่งมีลักษณะเฉพาะตัว
แก่นแท้ของการเป็นผู้ประกอบการคือการเปลี่ยนจากศูนย์ไปเป็นหนึ่ง หนังสือของผม "Zero to One" เน้นแนวทางที่ไม่เน้นสูตรสำเร็จ โดยให้ความสำคัญกับความเป็นเอกลักษณ์ ผมใช้คำถามที่ตรงกันข้ามเพื่อเน้นจุดนี้ เช่น "ธุรกิจที่ยอดเยี่ยมที่ไม่มีใครสร้างคืออะไร?" และ "บอกสิ่งที่เป็นความจริงที่ไม่มีใครเห็นด้วยกับคุณ" คำถามเหล่านี้ยากที่จะตอบเพราะการค้นหาความจริงใหม่มักต้องการความกล้าหาญในการต่อต้านความเชื่อที่เป็นที่ยอมรับ
นี่คือความจริงที่ตรงกันข้ามสองประการที่ผมเชื่อว่ามีความสำคัญแต่ไม่เป็นที่เข้าใจกันอย่างกว้างขวาง:
ในฐานะผู้ประกอบการ เป้าหมายของคุณควรเป็นการสร้างสิทธิผูกขาด—บริษัทที่ยอดเยี่ยมและมีลักษณะเฉพาะจนไม่มีการแข่งขัน ซึ่งตรงกันข้ามกับความเชื่อที่เป็นที่ยอมรับทั่วไป ผมเชื่อว่าทุนนิยมและการแข่งขันไม่ใช่คำพ้อง แต่เป็นคำตรงข้าม ผู้ที่ทำธุรกิจสะสมทุน ทุนในโลกที่มีการแข่งขันสมบูรณ์จะถูกกัดกร่อนจนหมด หากคุณต้องการแข่งขันอย่างดุเดือด เปิดร้านอาหารในตลาดที่มีการแข่งขันสูง แต่บริษัทที่ยอดเยี่ยม เช่น Google ซึ่งแยกตัวออกจากคู่แข่งอย่าง Yahoo และ Microsoft ในช่วงแรก ได้สร้างกำไรมหาศาลจากการหลีกเลี่ยงการแข่งขัน
การผูกขาดมักถูกเข้าใจผิด เพราะผู้ที่มีสิทธิผูกขาดมักไม่พูดถึงความเป็นเจ้าของที่ชัดเจนของตน ในทางตรงกันข้าม ผู้ที่ไม่มีสิทธิผูกขาดมักย้ำความเป็นเอกลักษณ์ของธุรกิจตนเองเกินจริงเพื่อดึงดูดการลงทุน ตัวอย่างเช่น Google ไม่เคยกล่าวว่าตนเองครอบครองส่วนแบ่งการตลาดในการค้นหาที่ชัดเจน แต่จะนำเสนอตนเองเป็นบริษัทเทคโนโลยีที่แข่งขันในตลาดหลากหลาย ในทางกลับกัน คนที่เปิดร้านอาหารที่มีลักษณะเฉพาะจะเน้นย้ำความแตกต่างของร้านเพื่อมอบเงินสนับสนุน
มันฟังดูแปลกใช่ไหม แต่ความเป็นจริงเป็นแบบนั้น ไม่มีใครตีร้องฆ้องเป่า ให้คนมาร่วมสังคกรรมและแชร์สิ่งที่คุณค้นพบหรอกน่า กว่าจะเข้ามา ขนาดก็ใหญ่มหึมาเสียจนยากที่จะตามทัน
หลายคนเชื่อว่าความจริงที่มีคุณค่าทั้งหมดได้ถูกค้นพบแล้ว นั่นเป็นความเชื่อของคนเขลาและมีมุมมองที่แคบ ในโลกนี้ยังมีความลับอีกมากมายที่ยังไม่ถูกค้นพบ
ความเชื่อที่แพร่หลายคือความจริงที่ยอมรับได้ทั่วไป
ความมหัศจรรย์คือความจริงที่เกินกว่าจะเข้าใจ
ความลับคือความจริงที่ยากจะค้นพบแต่สามารถทำได้ด้วยความพยายาม
การสำรวจพื้นที่ใหม่ ๆ เช่น เทคโนโลยีชีวภาพหรือเทคโนโลยีอวกาศสามารถเปิดเผยความลับเหล่านี้ได้
ในอดีต การค้นพบที่สำคัญได้เกิดขึ้นในสาขาเช่นภูมิศาสตร์และเคมีพื้นฐานซึ่งปัจจุบันได้รับการสำรวจเต็มที่แล้ว แต่ในโลกของไอที ยังมีโอกาสนับไม่ถ้วน แนวคิดเบื้องหลัง PayPal ที่รวมอีเมลกับเงิน เป็นไอเดียที่เรียบง่ายแต่ยังไม่ถูกค้นพบก่อนหน้านี้ เช่นเดียวกัน ยังมีความลับมากมายรอการค้นพบในสาขาเทคโนโลยีหลากหลาย
เพื่อให้ประสบความสำเร็จในศตวรรษที่ 21 เราต้องการทั้งโลกาภิวัตน์และนวัตกรรมเทคโนโลยี สองแนวทางการพัฒนาเหล่านี้มักสับสนว่าเหมือนกันแต่จริง ๆ แล้วแตกต่างกันอย่างมาก โลกาภิวัตน์เกี่ยวข้องกับการคัดลอกและขยายเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้วนำไปสู่การเติบโตในแนวนอน ประเทศจีนเป็นตัวอย่างที่ดีของโลกาภิวัตน์ในปัจจุบัน โดยการรับและปรับเทคโนโลยีตะวันตก (ซึ่งเดี๋ยวนี้ แม้แต่จีนก็เปลี่ยนไปแล้ว)
ในทางกลับกัน นวัตกรรมเทคโนโลยีเกี่ยวข้องกับการสร้างสิ่งใหม่ ๆ ซึ่งนำไปสู่การเติบโตในแนวตั้ง ยุคประวัติศาสตร์ของการพัฒนาเทคโนโลยีที่สำคัญ เช่น ศตวรรษที่ 19 มีการพัฒนาเทคโนโลยีและโลกาภิวัตน์อย่างมาก อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 20 โลกาภิวัตน์ได้แซงหน้านวัตกรรมเทคโนโลยี โดยเฉพาะนอกเหนือจากคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต
เราควรพยายามขยายการพัฒนาไปไกลกว่านอกเหนือจากโลกดิจิทัล เพื่อรวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีทางกายภาพ ความแตกต่างระหว่างโลกที่พัฒนาแล้วและโลกที่กำลังพัฒนาในปัจจุบันแสดงให้เห็นถึงมุมมองที่โปรโลกาภิวัตน์แต่ต่อต้านเทคโนโลยี ในทางตรงกันข้ามกับการที่เราเรียกว่ากำลังอยู่ในโลกที่พัฒนาแล้วซึ่งหมายความว่าไม่มีสิ่งใหม่ที่จะเกิดขึ้น เราต้องปฏิเสธแนวคิดนี้และหาวิธีพัฒนาต่อไปในโลกที่พัฒนาแล้ว
การเป็นผู้ประกอบการต้องการการยอมรับในความเป็นเอกลักษณ์และการค้นหาความจริงและนวัตกรรมใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง โดยการมุ่งหวังให้ได้สิทธิผูกขาด ค้นพบความลับ และสมดุลระหว่างโลกาภิวัตน์กับการพัฒนาเทคโนโลยี เราสามารถสร้างธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างแท้จริง ลองท้าทายความเชื่อที่แพร่หลายและพยายามพัฒนาโลกที่พัฒนาแล้วเสมอ
เนื้อหาจาก video >> https://www.youtube.com/watch?v=vJ_zQEeU1ag
เบื้องหลังทุกคน เบื้องหลังทุกบริษัท เบื้องหลังทุกสิ่งมีเรื่องราวของการไปอยู่ที่นั่นได้อย่างไร เรื่องราวที่เกี่ยวข้องมากที่สุดเชื่อมโยงกันในระดับส่วนตัว ฉันชื่อ Beth Comstock ฉันเป็นผู้นำด้านการตลาดและนวัตกรรมที่ GE พนักงานมีทางเลือกมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนนี้ที่เราทุกคนเต็มไปด้วยตัวเลือกว่าจะจัดสรรเวลาไว้ที่ใด ในโลกที่มีเครื่องจักรที่พูดคุย และผู้คนพูดคุยผ่านโซเชียลมีเดียมากขึ้น ความสามารถในการทำให้สิ่งต่าง ๆ ง่ายขึ้นเป็นสิ่งสำคัญมาก หากคุณเป็นบริษัทหรือองค์กรที่ต้องการเล่าเรื่องอย่างไรให้เป็นที่จดจำ
เมื่อคุณมีเรื่องราวที่ซับซ้อนมากที่จะพูดถึง ฉันพบว่าบ่อยครั้งในธุรกิจเรามักใช้การจัดการทางการเงินเชิงคณิตศาสตร์เชิงตรรกะ แต่ความจริงก็คือคุณต้องมีเรื่องราวเพื่อเชื่อมต่อกับบุคคล เชื่อมต่อกับลูกค้า เชื่อมต่อกับผลิตภัณฑ์ เราต้องการทราบว่าผ้าของเรามาจากไหน วัสดุในนาฬิกาของเรามาจากไหน และเครื่องยนต์ไอพ่นของเรามาจากไหน เราต้องการเข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นเพื่อพาเราไปยังจุดที่เราอยู่
คุณไม่สามารถขายอะไรได้จนกว่าคุณจะเข้าไปในใจของใครบางคน เราได้พูดคุยเกี่ยวกับส่วนแบ่งการตลาด แต่จริง ๆ แล้วมันเป็นเรื่องเกี่ยวกับการได้รับส่วนแบ่งทางความคิด การเข้าไปในจิตใจของผู้คน และสร้างเรื่องราวสำหรับสิ่งที่เป็นไปได้ หากคุณเริ่มต้นด้วยสมมติฐานว่าบริษัทของคุณสามารถเป็นนักเล่าเรื่องได้ คุณจะพบนักเล่าเรื่องได้ทุกที่ ฉันพบว่านักเล่าเรื่องที่เก่งที่สุดของเราบางคนเป็นวิศวกร คุณต้องการสร้างกลุ่มที่เก่งในการแปล พวกเขารู้วิธีที่จะกระตุ้นความหลงใหลในใครบางคนเพื่อให้พวกเขาเล่าเรื่องราวของพวกเขา
คุณต้องการเชื่อมต่อกับผู้คนและสื่อสารข้อความที่ต้องการสื่อออกไป การเล่าเรื่องคือการพาผู้คนไปยังสถานที่อื่น เชื่อมต่อกับความรู้สึกนึกคิด จำไว้ว่าตอนคุณยังเป็นเด็กเมื่อคุณมีจินตนาการที่พุ่งพล่าน มองเห็นเครื่องบินในเที่ยวบิน หรือเห็นรถไฟและเริ่มคิดถึงวิธีจินตนาการแบบนี้ ในการเล่าเรื่องคุณต้องเชื่อมต่อและมีข้อความที่ต้องการสื่อ มันเป็นศิลปะที่ว่าทำไมสิ่งนี้ถึงเกี่ยวข้อง
ตัวอย่างเช่น คุณอาจพูดถึงเครื่องยนต์ไอพ่นที่เรากำลังทำให้วัสดุมีน้ำหนักเบากว่าที่เคยเป็นมาถึง 90% ทำไมคุณถึงต้องสนใจ? เพราะมันช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และบางทีคุณอาจสนใจเกี่ยวกับโลกที่สะอาดขึ้น
การเล่าเรื่องเป็นการเชื่อมต่อกับผู้คนที่ค้นพบคุณค่าในเรื่องราวของคุณ และแบ่งปันในธุรกิจ คุณจะได้รับผลตอบแทนทางการเงิน แต่ที่สำคัญกว่านั้น หากคุณเปิดใจกว้างพอ และผู้คนเข้าใจและเกี่ยวข้องกับเรื่องราวของคุณ การค้าและการเชื่อมต่อในระดับมนุษย์จะติดตามมา ผู้คนไม่ต้องการถูกขาย พวกเขาต้องการได้รับแรงบันดาลใจ และคุณต้องต่อสู้อย่างแท้จริงเพื่อสิ่งนั้น
ทุกคน ทุกบริษัท และทุกสิ่งล้วนมีเรื่องราวเบื้องหลังที่เชื่อมโยงกัน
ในโลกปัจจุบันที่เต็มไปด้วยตัวเลือกและเทคโนโลยี การเล่าเรื่องที่เข้าใจง่ายมีความสำคัญมาก
การเล่าเรื่องช่วยสร้างการเชื่อมต่อระหว่างบุคคล ลูกค้า และผลิตภัณฑ์
ผู้คนต้องการทราบที่มาของสิ่งต่างๆ รอบตัว เช่น เสื้อผ้า นาฬิกา หรือแม้แต่เครื่องยนต์ไอพ่น
การตลาดที่แท้จริงคือการเข้าถึงจิตใจของผู้คน ไม่ใช่แค่การขาย
บริษัทควรส่งเสริมให้พนักงานทุกคนเป็นนักเล่าเรื่อง โดยเฉพาะวิศวกรที่มีความรู้เชิงลึก
การยอมรับตัวตนและค้นหาความงดงามในสิ่งที่ทำ จะช่วยสร้างเรื่องราวที่น่าสนใจ
การใช้จินตนาการแบบเด็กๆ สามารถช่วยในการเล่าเรื่องและสร้างแรงบันดาลใจได้
เรื่องราวที่ดีควรเชื่อมโยงกับผู้ฟังและอธิบายว่าทำไมสิ่งนั้นถึงมีความสำคัญ
การเล่าเรื่องที่ดีจะนำไปสู่ผลตอบแทนทางธุรกิจ เพราะผู้คนจะเข้าใจคุณค่าและแบ่งปันต่อ
ผู้คนต้องการแรงบันดาลใจมากกว่าการถูกขาย การเชื่อมโยงในระดับมนุษย์จึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับบริษัท
สรุป: การเล่าเรื่องที่เข้าใจง่ายและสร้างแรงบันดาลใจเป็นกุญแจสำคัญในการเชื่อมโยงผู้คน สร้างความสัมพันธ์ และประสบความสำเร็จทางธุรกิจในโลกปัจจุบัน
ในอาณาจักรแห่งสัญลักษณ์ มีไม่มากนักที่ icon ได้รับการใช้งานและยอมรับในระดับสากลและ smiley ใบหน้ายิ้มที่เรียบง่าย แต่สะท้อนอารมณ์ของความสุข เรียบง่ายแต่ลึกซึ้ง นี่แหละ เป็นสัญลักษณ์ของความสุข และ คิดบวกไปในจิตวิญญาณของมนุษย์
แต่เบื้องหลังสัญลักษณ์ที่แพร่หลายนี้มีเรื่องราวของความคิดสร้างสรรค์ ความบังเอิญ และผู้ที่ทำให้สัญลักษณ์นี้มีชีวิตขึ้นมา: Harvey Ross Ball
Harvey Ball เกิดเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2464 ในเมืองวูสเตอร์ รัฐแมสซาชูเซตส์ เป็นศิลปินเชิงพาณิชย์และเป็นทหารผ่านศึกในสงครามโลกครั้งที่สอง เขาก่อตั้งบริษัทออกแบบของตัวเองชื่อ Harvey Ball Advertising ในปี 1959 โดยเชี่ยวชาญด้านการสร้างโลโก้และการสร้างแบรนด์ให้กับบริษัทต่างๆ เขาไม่รู้เลยว่าคำสั่งง่ายๆ ในปี 1963 จะนำไปสู่การสร้างหนึ่งในสัญลักษณ์ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดในโลก
บริษัท State Mutual Life Assurance (ปัจจุบันรู้จักกันในชื่อ Hanover Insurance) เข้าหา Ball ด้วยคำขอให้ออกแบบความสุขที่ยิ้มแย้ม
พวกเขาต้องการการออกแบบเพื่อเพิ่มขวัญกำลังใจของพนักงานหลังจากการควบรวมกิจการและเลิกจ้างหลายครั้ง Ball ซึ่งเป็นที่รู้จักจากความสามารถในการกลั่นกรองความคิดที่ซับซ้อนให้กลายเป็นภาพที่เรียบง่าย ได้ลงมือทำงานแล้ว ภายในเวลาไม่ถึงสิบนาที เขาได้ร่างวงกลมสีเหลืองอันเป็นเอกลักษณ์โดยมีสองจุดสำหรับดวงตา และโค้งขึ้นเล็กน้อยสำหรับปาก ซึ่งเป็นใบหน้ายิ้มที่เรารู้จักในปัจจุบัน
ผลงานที่ดูเหมือนไม่ต้องใช้ความพยายามนี้จะกลายเป็นสัญลักษณ์ที่ยั่งยืนของความสุขและความคิดเชิงบวก โดยก้าวข้ามอุปสรรคด้านภาษาและวัฒนธรรม มันสะท้อนกับผู้คนในระดับอารมณ์ที่ลึกซึ้ง โดยจับแก่นแท้ของการเชื่อมโยงของมนุษย์และการมองโลกในแง่ดี โดยพื้นฐานแล้ว มันเป็นรูปลักษณ์ของวลี “Have a nice day”
แต่เรื่องราวไม่ได้จบเพียงแค่นั้น แม้จะได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย แต่ Harvey Ball ไม่เคยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าหน้ายิ้มนี้ และเขาไม่ได้รับค่าลิขสิทธิ์ใดๆ สำหรับการใช้งานดังกล่าว มีรายงานว่าเขารู้สึกเสียใจที่ไม่ได้ดำเนินการทางกฎหมายเพื่อปกป้องผลงานของเขา
อย่างไรก็ตาม บอลยังคงถ่อมตัวเกี่ยวกับการมีส่วนสนับสนุนวัฒนธรรมสมัยนิยมของเขา เขายังคงทำงานเป็นนักออกแบบกราฟิก โดยสร้างโลโก้และการสร้างแบรนด์ให้กับลูกค้าหลายราย แต่ใบหน้าที่ยิ้มแย้มยังคงเป็นมรดกที่ยั่งยืนที่สุดของเขา
ในปี 1999 Harvey Ball เสียชีวิตในวัย 79 ปี โดยทิ้งมรดกที่ยังคงนำความสุขมาสู่ผู้คนนับล้านทั่วโลก ผลงานสร้างสรรค์ที่เรียบง่ายแต่ลึกซึ้งของเขาคือใบหน้ายิ้ม ทำหน้าที่เป็นเครื่องเตือนใจถึงพลังแห่งความเป็นบวกและความสามารถของภาพเดียวในการรวมมนุษยชาติให้เป็นหนึ่งเดียวในอารมณ์ที่มีร่วมกัน
ดังนั้น ครั้งต่อไปที่คุณเห็นหน้ายิ้ม ไม่ว่าจะบนเสื้อยืด ป้ายโฆษณา หรือข้อความ ให้ใช้เวลาสักครู่เพื่อรำลึกถึงชายผู้อยู่เบื้องหลังรอยยิ้มนั้น นั่นคือ Harvey Ross Ball ผู้ซึ่งการสร้างสรรค์อันเหนือกาลเวลายังคงส่งต่อความสุขต่อไป ยิ้มในแต่ละครั้ง
ในบรรดางาน Technology conference ใน ASIA ชื่อของ SusHi Tech Tokyo น่าจะเป็นงานนึงที่ดึงความสนใจจากทั่วโลก เพราะญี่ปุ่นก็ถือว่าเป็น leader ด้านเทคโนโลยีมาอย่างยาวนาน และถือเป็นประเทศนวัตกรรมแห่งนึงของโลก
ในครั้งนี้ อจ.ได้เดินทางมากับคณะทำงานย่านนวัตกรรมทางการแพทย์สวนดอก (Suandok Medical Innovation District, SMID) ซึ่งมากับคณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศ.นพ.บรรณกิจ โลจนาภิวัฒน์ และหัวหน้าศูนย์นวัตกรรมคณะแพทยศาสตร์ มช. อจ. ไก่ รศ. พญ. ศิริอนงค์ ร่วมด้วยกับ คณาจารย์จากคณะเศรษฐศาสตร์ และ สถาปัตยกรรมที่ร่วมพัฒนาย่านในด้านต่างๆ
งาน SusHi Tech Tokyo ปีนี้ มีการ run งานตั้งแต่ 27 April - 26 May 2024 โดยการ Run งานก็มี activity ต่าง ๆ เกิดขึ้น โดยที่มีการจัดงาน Exhibition ในวันที่ 16-17 May 2024 ที่ Tokyo Big Sight ศูนย์แสดงสินค้าขนาดใหญ่ของ Tokyo
รูปแบบของการจัดงาน เป็นการจัดงานที่ มีเป้าหมายในการเชื่อมโยง ผลักดันและขยายความร่วมมือทางด้าน technology โดย มี program หลัก ๆ 3 programs ได้แก่
Showcase Program
ใน Showcase Program เป็นกิจกรรมที่โชว์ sustainable city ที่ประกอบด้วยการรวมกันของธรรมชาติและความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตอยู่ (nature and convenient) โดยมีการเปิดประสบการณ์ของ โตเกียวในอนาคต ในสถานที่จัดที่จัดทั้ง 4 แห่ง โดยโชว์ผ่านการพัฒนทางเทคโนโลยีได้แก่ #Food #Tech #Mobility #Activity #Entertrainment
โดยมีการจัดงานแสดงสัมนาและออก Booth ต่าง ๆ ในงาน 2 วันของ SuShi Tech Tokyo Day
Global Startup Program
เป็นโปรแกรมที่เฟ้นหา startup ที่ยอดเยี่ยมแห่งโลก โดยที่เปิดให้มีการสมัคร ผ่านการคัดเลือกและมี Top 20 Finalise ที่ได้มาแข่งขันกันที่วัน pitching day ในงาน
Leadership Program
มีการจัดประชุม ผู้นำใน Theme “Conneting CIties, Creating a Better Future” โดยการผลักดันของกลุ่มเครือข่ายเมืองระดับโลกเพื่อความยั่งยืน (G-NETS)
ในปี 2022 ศาลาว่าการกรุงโตเกียวได้เปิดตัว Global City Network for Sustainability (G-NETS) ในฐานะเครือข่ายเมือง ตามเมือง สำหรับเมืองต่างๆ โดยจะทำหน้าที่เป็นเวทีสำหรับเมืองต่างๆ เพื่อพบปะและหารือถึงวิธีแก้ปัญหาความท้าทายทั่วไปที่เราเผชิญจากมุมต่างๆ และทุกระดับ รวมถึงเจ้าหน้าที่ระดับทำงาน เจ้าหน้าที่อาวุโส และนายกเทศมนตรี/ผู้ว่าการรัฐ โดยมีการผลักดันเชิงรุกเชิงนโยบายให้เกิดขึ้นได้จริงจากความร่วมมือในระดับต่าง ๆ
เอาหละ ต่อไปก็ได้เวลาในการเดินทางไปยังสถานที่จัดประชุมแล้ว เราขึ้นรถไปจากโรงแรมไปจนเกือบสุดสายเลยห่างจาก city center พอสมควร สิ่งที่สังเกตเห็นคือความเป็นเมืองใหม่ ที่สร้างขึ้นต่อขยายจากเมืองเดิมและต้นไม้สีเขียวตลอดทางตอกย้ำความเป็น sustainable city
Saw, and Sawing by Claes Oldenburg / Coosje Van Bruggen Sculpture
ทางเข้า Tokyo Big Sight เห็นเลื่อยขนาดใหญ่ปักอยู่ และเมื่อไปค้นข้อมูลก็ความหมายของสภาปัตยกรรมชิ้นวางนี้ว่า
“Saw, and Sawing” by Claes Oldenburg / Coosje Van Bruggen Sculpture
เป็นชิ้นงานเลื่อยปักเปลือกโลก ที่เสมือนงานช่างทั้งสร้างและซ่อมแซม ให้กับโลกของเรา (https://www.bigsight.jp/english/visitor/services/artwork.html)
ทางเข้า ก็จะใหญ่ ๆ อลังการแบบนี้ เป็นทางที่เขื่อมตรงมาจากรถไฟที่มายังสถานที่ประชุม
เข้างานปุ๊บ มันก็จะเป็นทางเดินแบบตัว U นะ เข้าไปทางขวามือ ก็จะเจอ Stage A ก่อน และ ก็จะมี Booth ใหญ่ ๆ เรื่องเกี่ยวกับเมือง คือต้องบอกเลยว่า SusHi Tech Tokyo นี้ เน้นเรื่องเมืองมาก ๆ เลย การสร้างเมืองอัจฉริยะเอย อากาศเอย public space เอย
อันนี้ไปยืม slide ของ อจ แนน อจ ผู้เชี่ยวชาญผังเมือง และทำงานด้านผังของ ย่านนวัตกรรมทางการแพทย์สวนดอกมาครับ ก็จะเห็นการพัฒนาเมือง Shibuya ที่มีวงกลมเป็น Work Live Play คือ ทั้งทำงาน ทั้งการอยู่อาศัยและก็ทั้งเรื่องกิจกรรมบันเทิงนะ เรียกว่า คลุมการใช้ชีวิตทั้งหมด และมีจุด ๆ รอบ ๆ คือ Digital และคลุมด้วย Theme กว้างคือ sustainable development วงใหญ่ อีกที อันนี้เป็น Writing opinion board เป็นรูปแบบ brainstorming และ เพิ่ม participation ให้คนร่วมงาน
มีงานของฝั่งเอกชนที่ทำธุรกิจและทำงานร่วมไปตามนโยบายของภาครัฐบาล เช่น TOKYU COOPERATION ที่เป็นบริษัทที่ทำเรื่องการขนส่งมาก่อน จากนั้นก็มีการทำธุรกิจและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และขยายมายังด้าน Lifestye และการท่องเที่ยว
โดย slogan ของ TOKYU Group คือ “Toward a Beautiful Age” และมีปรัชญาการทำงานที่เป็นแกนกลางว่า “Creating beautiful living environments that accommodate people’s diverse values” คือการสร้างสิ่งแวดล้อมที่สวยงามเอื้อต่อการใช้ชีวิตให้กับผู้คนที่มีคุณค่าอย่างหลากหลาย >> https://tokyugroup.jp/en
Shibuya Project ก็เป็นอีกหนึ่ง Project สำคัญ สำหรับการพัฒนาเมือง โดยมี aim ในการ ปลุกชิบุยะ Revitalizaing Shibuya โดยมีโครงการสร้างสิ่งแวดล้อมและตึก ต่างๆ มากมายในย่านนี้ โดยก็จากกลุ่ม TOKYU นั่นแหละ
ผังเมืองชิยุยะ มีการออกแบบ space ให้มีกิจกรรมที่มีทั้งการทำงานและความสนุกสนาน แหม่ work life integration เสียจริง ๆ Playwork แล้วดู Logo ดิ มีรูปเส้นเมืองวิ่งขึ้นลงเหมือนกับคลื่นหัวใจของการเปลี่ยนแปลงแบบ Vitality และก็มีอยู่ในหัวใจเสียด้วย ใครคิดนี่ creative จริง ๆ นะ
เอาหละ เรามา visit Booth กันดีกว่า คือบอกจริง ๆว่า งานเล็กกว่าที่คิด เพราะเคยไปงาน SWITCH SG แล้ว ใหญ่กว่านี้ เดินขาลากกว่านี้ แต่ไม่รู้ว่า scale งานลดลง เพราะหลัง COVID ไหมนะฮะ เอาว่าตอนนี้ ที่ไป Booth นี่ก็ไป product ทางการแพทย์เป็นหลัก แต่เนื่องจากต้องกลับวันนี้ ตอนเย็น เวลาคงมีไม่มาก เพราะบ่าย ๆ ก็ต้องไปฟัง pitching stage
fifuly
ตัวนี้ชอบสุดในงาน ฮะ เป็น หมอนหายใจได้ ถ้าเราใช้ pressure มันจะขยับขึ้นลงเหมือนการหายใจ คือ การขยับมัน กระตึ้นระบบประสาทผ่อนคลาย parasympathetic ยะ ดีเลย
Salt control technology
เทคโนโลยีของคนกินเค็ม คือไปคุยกับผู้ก่อตั้งนะ คือ ชีวิตมันต้องมีรสชาด ในเมื่อเปลี่ยนพฤติกรรมมันยากใช่ไหม เป็นโรคไต โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง แต่อยากกินเค็มใช่ไหม ไม่เป็นไร นี่เลย Salt control technology เพียงกิน 2 capsules พร้อมอาหารเค็มที่จะกินเลย โดยภายใจ capsule จะมี algenate ที่จะ absorb salt ที่ผ่านทางกระเพาะอาหารแล้ว แล้วก็ขับทางอุจาระออกไป ไม่ผ่านเข้าสู่ร่างกาย
ท่านคณบดีก็ถาม มีแนวโน้มในการทำการ absorb น้ำตาลไหม
เค้าก็บอกว่า น่าสนใจ คือจริง ๆ คนกินหวานก็เยอะเนอะ หากสามารถจับน้ำตาลได้ นี่จะดีเยี่ยมเลย หรือทำเป็น combine pill ได้ในอนาคต
DARA - clinical decision support AI
(mesh bio https://www.meshbio.com)
เป็นระบบ ที่ integrate เข้าไปจับ data ในโรงพยายาลแล้วเอา data มา guide clinical decision support ให้แก่หมอและผู้ป่วย โดยโรคที่เอามาใช้งานได้ดีแล้ว คือ การนำข้อมูลคนไข้ diabetes mellitus มาทำนายการเกิดโรคไต chronic kidney disease (CKD)
Clinical Decision Support โดยใช้ AI กำลังมีการพัฒนามากขึ้น ซึ่งแต่เดิม จริง ๆมีมานานแล้ว แต่การพัฒนาของ AI จะทำให้ CDSS ทำงานได้ดียิ่งขึ้นมาก
iCure
ในยุค aging society แบบนี้ การ monitor โดยการใช้ sensor เป็นอะไรที่มีความสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และเตียงเป็นส่วนที่มีการใช้อุปกรณ์ sensor มากที่สุดอุปกรณ์หนึ่ง โดยมีตั้งแต่สร้างแผ่นรองนอน หรือ สร้างเตียงที่มี sensor จับวัดการกดและท่านอนได้
ใน Booth iCare นี้เป็น start up สัญชาติไต้หวัน ที่ทำแผ่นรองนอน ที่สามารถจับสัญญาณชีพได้ โดย sensor ที่ใช้นั้นเป็น sensor ที่รับแรงสั่นสะเทือน ไม่ว่าจะเป็นการหายใจ ความดัน การเต้นของหัวใจ
ศ.นพ.บรรณกิจ โลจนาภิวัฒน์ ได้สอบถามนวัตกรรมที่รองนอนของ iCare
ความพิเศษ ของแผ่นรองนอนตัวนี้ คือมันมี sensor ที่มีความไวและกระจายหลายตำแหน่ง ทำให้ เวลาการวางปูนั้นไม่ได้ใช้แผ่นปูบนฟูกเตียงนอน แต่วางใต้ฟูกเตียงนอน โดยที่เจ้าหน้าที่แจ้งว่า สามารถใช้ได้กับ mattress ทุกชนิดเสียด้วย และสามารถรับสัญญาณ ไม่ว่าคนไข้ จะอยู่ท่านอนหรือกึ่งนั่งก็ตาม โดยที่ target group เป็น บ้านพักผู้สูงอายุ ถือว่าสามารถตอบโจทย์ pain point ได้ดีทีเดียว เพราะจากประสบการณ์การทำบ้านผู้สูงอายุมา ปัญหาการ monitoring นี่เป็นปัญหาที่สำคัญมากจริง ๆ
ต้องบอกว่า highlight หนึ่งของงานนี้ คือการ pitching สุดยอด startup จากทุกมุมโลก โดยมี เงินรางวัลมหาศาล (จำตัวเลขไม่ได้) แต่รู้ว่าเยอะ หนะ โดยตอนที่ เราได้เยี่ยมชม Booth ก็ได้พบ startup ที่ขึ้น pitching ด้วยอยู่ เช่น สาวสวยจาก Mediktor ที่นำเอา AI chatbot ที่เป็น Triage ทางการแพทย์ และ กลุ่ม Precision medicine for Cancer ด้วย ต้องบอกว่า โคตรล้ำนะ แต่ละทีม คือดีงามมาก ๆ
หนึ่งใน Theme ที่มาแรงมาก ๆ คือ sustainable development ครับ ทีม COGO นี้ ตบท้ายด้วย Let’s go change the world together, let’s COGO
Mediator ที่ใช้ AI chatbot ที่ตอนแรก เราก็รู้สึกเฉย ๆ แต่พอมาฟัง pitch แล้วไม่ธรรมดาเลยจริง ๆ กรรมการก็ถามว่า แล้วต่อไป Gen AI มันจะมาแทนไหม แต่ด้วย trusted data คิดว่า คงแทนได้ยาก
อันนี้ ทีม Cancer free biotech แต่ละคนเป็นระดับ Professor ถือว่า ทีมดีมาก
อันนี้ slide TAM SAM SOM ส่วยดี ขึ้นมาทีละวง
ในงาน SusHi tech ครั้งนี้ ได้พบปะกับหน่วยงานที่เป็นหัวหอกด้านนวัตกรรมของไทย นั่นก็คือ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (National Innovation Agency, NIA) นั่นเอง โดยได้มีการลงนามความร่วมมือกับหน่วยงานราชการของทางญี่ปุ่นในงานนี้อีกด้วย นอกจากนี้ ทาง National Innovation Agency ยังได้นำ Startup จากประเทศไทย เข้าร่วมงานด้วย ถือว่าเป็นหน้าเป็นตาของประเทศไทยเลยทีเดียว และก็ยังพบ โค้ชก้อง และผองเพื่อน ๆ ด้วยนะ
เอาหละฮะ มาถึง เรื่องสิ่งที่ได้เรียนรู้ สิ่งที่เป็นการบ้านต้องทำต่อไปนะฮะ
คือประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและเป็น leader ทางด้าน tech แต่เอาจริง ๆ ในเชิง Global ก็ยังติดชาวต่างชาติที่เข้ามาอยู่ดี คือเดินในงาน ชาวต่างชาติ น้อยกว่า Techsauce เสียอีก คิดว่าเพราะ language barrier ก็ยังมีอยู่ และที่นี่ค่าครองชีพสูงนะ แต่งานก็ถือว่า ทำได้ international ดีมาก ๆ เลย
การพัฒนา Technology คิดว่ามีโปรแกรมที่ทำได้ดี โดยการสนับสนุนของรัฐบาล และความร่วมมือของเอกชนและ academia นะฮะ พอไปดูใน Youtube channel SusHi Tech Tokyo ก็จะได้เห็นการนำเสนอนโยบายที่ไปในทิศทางที่ดีมาก ๆ คือวาง stretegy มาดีและชัดเจน
การพัฒนด้านย่านนี่ที่นี่หายห่วงอยู่แล้ว เนอะ ก็ความเป็นญี่ปุ่น ความเป็นระเบียบเรียบร้อย การวางแผน และการร่วมมือของประชากร ก็อย่างว่า ประเทศพัฒนาแล้ว อันนี้ หมายถืงคนก็พัฒนาแล้วเช่นกัน
ประเทศไทยคิดว่า เราทำได้ คือ เชียงใหม่เป็น International Hub อยู่แล้ว ทีม academia ก็แข็งแกร่ง แต่ยังขาดการ alignment ของรัฐ เอกชน และ academia ร่วมกับชุมชนในพื้นที่ด้วย อันนี้ จริงตอนนี้ Suandok Medical Innovation District ก็ทำมาได้ในระดับนึง และยังดีขึ้นได้ ต้องอาศัยการ support การประชุมวางแผนงานและผลักดันจริง ๆ จัง ๆ คือ quadruple helix นี่เราทำได้ ขาดเรื่องนี้เลย และ อีกเรื่องคือ continuous execution คือต้องมี executive team ที่อินและกัดไม่ปล่อย นะฮะ
มาเขียนวันที่หลังจากกลับจากงาน SusHi Tech 2 วัน เพิ่งได้พัก แล้วจะมาเล่าที่ไปทำความร่วมมือและ Explore กับ OSAKA วานก่อนมาให้ฮะ
“Together We Can”
ความฉลาดคืออะไร
หลายๆ คน อยากเป็นคนฉลาด เพราะคนฉลาด มีโอกาสก้าวหน้าในขีวิต มีหน้าที่การงานที่ดี ประสบความสำเร็จ และแน่นอนว่ามันก็จะส่งผลไปสู่ความมั่งคั่ง ทั้งส่วนตัว ครอบครัว และสถานะทางสังคม
เมื่อเรากล่าวถึงความฉลาด เราก็คงคิดถึง วิธีที่จะพัฒนาให้เรามีความเก่งและฉลาดขึ้น ซึ่งก็คือระบบการศึกษานั่นเอง แต่เป็นที่น่าเศร้าว่า ในขณะที่เราพยายามในการคิดระบบการพัฒนาให้มนุษย์เกิดความฉลาดมากขึ้น แต่ระบบในปัจจุบัน ก็ยังจมปลักกับรูปแบบของการพัฒนาความฉลาดเพียงด้านเดียว ด้วยรูปแบบเหมือนๆ กัน
Sir.Ken Robinson นักพัฒนาระบบการศึกษา นักคิดและนักพูดสร้างแรงบันดาลใจ ได้กล่าวว่า ระบบการศึกษาในปัจจุบัน คือภัยอันร้ายแรงที่ทำลายความคิดสร้างสรรค์โดยการตีกรอบมุ่งเน้นสร้างความฉลาดเพียงด้านเดียวและละเลยความฉลาดด้านอื่นที่ใช้ในการดำรงค์ชีวิต ทั้งยังมุ่งวัดผลที่เป็นกับดักทางการศึกษาที่เราก็เห็นผลลัพย์อยู่แล้วว่า มันล้มเหลวในบริบทปัจจุบัน
การศึกษาปัจจุบันและการวัดนี้ เป็นผลพวงของยุคที่มีการเร่งเร้าการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ผ่านการทดลองและแสวงหาความรู้ใหม่ โดย Sir. Ken Robinson ได้กล่าวในหนังสือ “The Element: How Finding your Passion Change Everything” ว่า “ธาตุ (Element)” ที่เป็นคุณสมบัติโดดเด่นเฉพาะตัวของคนคนนั้น ได้ถูกกรอบการศึกษากดทับ
เมื่อการศึกษา เป็นการตีกรอบความฉลาดด้านอื่นๆ แล้วความฉลาดด้านอื่นนั้นคืออะไรกันหละ
จากทฤษฎีของ Robert J. Sternberg นักจิตวิทยา ได้แบ่งความฉลาดออกเป็น 3 ส่วน ตามทฤษฎี Triarchic Theory of Intelligence” ได้แก่
ความฉลาดด้านการวิเคราะห์ (Analytical Intelligence) : เป็นความฉลาดด้านข้อมูล การใช้ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งสามารถทดสอบได้จากการทดสอบ IQ และ เป็นความฉลาดที่เราคุ้นเคยจากการสอน และการสอบวัดผลในห้องเรียน มักเป็นความฉลาดเฉพาะด้าน บางคนเรียกเป็น “Professional intelligence”
ความฉลาดด้านความคิดสร้างสรรค์ (Creative intelligence) ความฉลาดด้านความคิดสร้างสรรค์ เป็นความฉลาดในการคิดใหม่ คิดประยุกต์ การปรับตัว การเชื่อมโยงมุมมองในแนวขวาง ผนวกข้อมูลจากหลายภาคส่วนและก่อให้เกิดการแก้ปัญหาหรือแสดงมุมมองใหม่ๆ ความฉลาดด้านนี้มักแสดงออกมาทาง “Creative and Innovation Ideas ไอเดียในการสร้างสรรค์และการผลิตนวัตกรรม”
ความฉลาดในทางปฎิบัติ (Practical Intelligence) คือ ความฉลาดในการเผชิญหน้ากับสถานการณ์จริง โดยสามารถโต้ตอบกับการใช้ปัญญากับชีวิตประจำวันได้ ได้แก่ การปฎิบัติงาน การสั่งงาน การแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน การตัดสินใจเฉียบพลัน ซึ่งก็คือความฉลาดในการบริหารจัดการการใช้ชีวิตและการงาน
แต่ละคน มีความฉลาดในแต่ละด้านไม่เท่ากัน ซึ่งเป็นปัจจัยที่เกิดมาแต่กำเนิด (innate) และสิ่งแวดล้อม (environment)
เพียงแต่เราต้องมีช่องทางในการปะทุความฉลาดของเรา ตามธาตุของตัวเรา เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดนั่นเอง