วันหนึ่ง ลูกศิษย์ บอกว่า อจ สอนเขียนบทความ ให้ความรู้คนอื่น ให้หน่อย
"จงสอน สิ่งที่ เราอยากรู้เมื่อเรายังเด็กกว่านี้ ไม่มีความรู้อะไร ช่วยเหลือให้เราดีขึ้น"
Teach younger you. สอนคนอื่น เหมือนสอนตัวเองที่ยังเยาว์วัย ไร้เดียงสา
แค่นี้
- อจ สุรัตน์
วันหนึ่ง ลูกศิษย์ บอกว่า อจ สอนเขียนบทความ ให้ความรู้คนอื่น ให้หน่อย
"จงสอน สิ่งที่ เราอยากรู้เมื่อเรายังเด็กกว่านี้ ไม่มีความรู้อะไร ช่วยเหลือให้เราดีขึ้น"
Teach younger you. สอนคนอื่น เหมือนสอนตัวเองที่ยังเยาว์วัย ไร้เดียงสา
แค่นี้
- อจ สุรัตน์
#กับพี่ชบา วิ่งเช้าวันที่ 2 มค 68
มันเป็นเรื่อง กรอบความคิด (mindset) และ กรอบการทำงาน (framework)
สงสัยไหมว่า…
• ทำไมบางคนออกกำลังกายจนร่างกายแข็งแรง?
• ทำไมบางคนจัดการอารมณ์ได้ดี ไม่ว่าเผชิญปัญหาแค่ไหน?
• ทำไมบางคนร่ำรวย ทำอะไรก็สำเร็จ?
นั่นสินะ ทำไม?
มันไม่ได้มาจากโชคชะตา แต่เกิดจาก Mindset และ Framework ที่ช่วยให้พวกเขามีวิธีคิดและแนวทางการลงมือทำที่ชัดเจน
Mindset กรอบความคิด: รากฐานของความสำเร็จ
Mindset หรือกรอบความคิด คือความเชื่อและทัศนคติที่เรามีต่อตนเองและโลก มีงานวิจัยจาก Carol S. Dweck ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ที่ศึกษาผลของ Fixed Mindset (กรอบความคิดแบบตายตัว) และ Growth Mindset (กรอบความคิดแบบเติบโต) พบว่า
ผู้ที่มี Growth Mindset เชื่อว่าความสามารถสามารถพัฒนาได้ผ่านการเรียนรู้และความพยายาม พวกเขาจะรับมือกับความล้มเหลวได้ดี และมองปัญหาเป็นโอกาสในการเรียนรู้ (Dweck, 2006)
ตัวอย่าง:
• ออกกำลังกายจนแข็งแรง: คนที่มี Growth Mindset มองว่าความแข็งแรงเป็นผลจากการฝึกฝน ไม่ใช่สิ่งที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด พวกเขาจึงลงมือทำทีละน้อยและพัฒนาต่อเนื่อง
มี Quote นึงที่ชอบ
Carol S. Dweck ผู้เขียนหนังสือ Mindset: The New Psychology of Success กล่าวไว้ว่า
“The view you adopt for yourself profoundly affects the way you lead your life.”
(มุมมองที่คุณมีต่อตัวเองส่งผลลึกซึ้งต่อวิธีการใช้ชีวิตของคุณ)
Framework กรอบกาคทำงาน: วิธีการทำให้สำเร็จ
Framework หรือโครงสร้างการทำงาน คือแผนหรือระบบที่ช่วยเปลี่ยนความตั้งใจเป็นการกระทำ งานวิจัยพบว่า คนที่ใช้ Framework ชัดเจนมักจะประสบความสำเร็จมากกว่า เพราะพวกเขามีขั้นตอนและเป้าหมายที่วัดผลได้
ตัวอย่าง Framework ที่มีประสิทธิภาพ:
1. SMART Goals Framework
Framework นี้ช่วยตั้งเป้าหมายอย่างชัดเจน:
• Specific (ชัดเจน): เป้าหมายต้องระบุได้ เช่น “ลดน้ำหนัก 5 กิโลกรัม”
• Measurable (วัดผลได้): เช่น ชั่งน้ำหนักทุกสัปดาห์
• Achievable (ทำได้จริง): ตั้งเป้าหมายที่ไม่เกินความสามารถ
• Relevant (เกี่ยวข้อง): สอดคล้องกับเป้าหมายชีวิต เช่น “ลดน้ำหนักเพื่อสุขภาพที่ดี”
• Time-bound (มีกำหนดเวลา): เช่น “บรรลุเป้าหมายใน 3 เดือน”
2. ABC Model
Framework นี้มาจาก Cognitive Behavioral Therapy (CBT) ช่วยจัดการอารมณ์:
• A (Activating Event): ระบุเหตุการณ์ที่กระตุ้นอารมณ์ เช่น การทะเลาะกับเพื่อน
• B (Beliefs): ระบุความคิดหรือความเชื่อ เช่น “เขาไม่ให้เกียรติเรา”
• C (Consequences): ระบุผลลัพธ์ เช่น ความโกรธและการตอบสนอง
งานวิจัยจาก Cognitive Therapy and Research พบว่า การใช้ ABC Model สามารถลดความเครียดและพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้ (Ellis & Dryden, 1997)
ตัวอย่าง: Mindset + Framework ในชีวิตจริง
1. ออกกำลังกายจนแข็งแรง:
• Mindset: เชื่อว่าการออกกำลังกายคือการลงทุนในสุขภาพ ไม่ใช่แค่การลดน้ำหนัก
• Framework: ใช้ SMART Goals เช่น เดินวันละ 30 นาที และเพิ่มขึ้นทีละ 5 นาทีทุกสัปดาห์
2. จัดการอารมณ์:
• Mindset: มองว่าความโกรธเป็นสิ่งที่จัดการได้
• Framework: ใช้ ABC Model ในการวิเคราะห์เหตุการณ์ และหาวิธีตอบสนองเชิงบวก
How to: เริ่มต้นเปลี่ยน Mindset และใช้ Framework
1. ปรับ Mindset ของคุณ:
• ฝึกมองความล้มเหลวเป็นบทเรียน เช่น ถ้าล้มเหลวในการตั้งเป้าหมาย ให้ถามตัวเองว่า “ฉันเรียนรู้อะไรจากสิ่งนี้?”
2. ใช้ Framework ชัดเจน:
• ตั้งเป้าหมายเล็ก ๆ ก่อน เช่น ออกกำลังกาย 10 นาทีต่อวัน และเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
• วางแผนเป็นขั้นตอน เช่น ใช้ SMART Goals
3. วัดผลและปรับปรุง:
• บันทึกความก้าวหน้า เช่น บันทึกการออกกำลังกายหรืออารมณ์ในแต่ละวัน
• ถ้า Framework ที่ใช้อยู่ไม่ได้ผล ให้ปรับเปลี่ยน เช่น ลดเป้าหมายให้เล็กลงเพื่อเริ่มใหม่
อจ. สรุปไว้ ง่ายๆ แบบนี้นะ
Mindset เป็นรากฐานของการพัฒนา ส่วน Framework คือเครื่องมือที่ช่วยให้การลงมือทำสำเร็จ
ดังนั้น หากเรามี Mindset ที่เหมาะสมและ Framework ที่ชัดเจน เราจะสามารถบรรลุเป้าหมายได้เหมือนกับคนที่เราชื่นชม
- อจ สุรัตน์
ปล คือ ชบามันเดินตามตลอดเลย มานั่งอุ้มมันไว้ ท่าจะคิดถึงคน ปิดปีใหม่หลายวัน
"นาฬิกากระต่ายขาว The White Rabbit Clock"
ในวันที่เดินทาง 2 ชั่วโมงอย่างเหนื่อยล้า ร้านอาหารญี่ปุ่น style English ร้านดัง อวดโฉมข้างทาง
ไม่รอช้า อจ. และทั้งกลุ่ม ทานอาหารที่นี่แหละ
อาหารที่สวยงามและมีศิลปะการจัดวาง หากไม่คิดอะไร มันก็แค่อาหารที่ทำให้ท้องอิ่มและขับถ่ายออกมาในชั่วข้ามวัน และหากคิดอะไร อาหารและการปรุงแต่ละรสชาด คือความหฤหรรษ์ ในห้วงยามนึงที่ดื่มกิน หากคิดส่าอาหารคือแค่สิ่งที่ดื่มกิน เราคงไม่จำเป็นต้องไปดูพระอาทิตย์เที่ยงคืนถึงอีกซีกโลกเพียงแค่ได้ดูพระอาทิตย์ดวงเดิมที่ข้ามไปอีกวัน
หน้าร้านอาหารนี้ เดินเห็นรูปปั้นกระต่ายที่ในมือถือนาฬิกาห้อยลงมา
ทำไมกระต่ายต้องถือนาฬิกา อ้อ มันมาจากเนื่องเรื่อง Alice's advanture in Wonderland กระต่ายตัวนั้น ที่รวดเร็ว ลงรูหนอนอีกดินแดนนึง
White rabbit clock กระต่ายขาวกับนาฬิกา มองเผินๆ เหมือนกระต่ายขาว ที่หลุดมาจากนิยายขายดี แต่มันมีอะไรมากกว่านั้น
White rabbit clock เป็นอุปมาทางปรัชญาที่สำรวจแนวคิดเรื่องเวลาและการรับรู้เวลา
มันได้รับแรงบันดาลใจมาจากฉากที่มีชื่อเสียงในนวนิยายเรื่อง "Alice's Adventures in Wonderland" ของลูอิส แคร์รอลล์ ที่กระต่ายขาวถูกเห็นว่ากำลังตรวจสอบนาฬิกาพกของมันอย่างรีบร้อนและร้องว่า "ฉันสาย! ฉันสาย! สำหรับนัดหมายที่สำคัญมาก!"
พฤติกรรมที่เร่งรีบของกระต่ายขาวเป็นสัญลักษณ์ของแนวโน้มของมนุษย์ที่จะถูกครอบงำโดยเสียงนาฬิกาที่ดังติ๊กตอกอย่างไม่หยุดนิ่ง ซึ่งมักจะมาพร้อมกับการไล่ล่างานและนัดหมายต่างๆ บ่อยครั้งเสียเปรียบกับการใช้ชีวิตในปัจจุบันขณะ
ใช่แล้ว เราเป็นทาสของเวลา
ในประเทศญี่ปุ่น แม้จะมีความเป็นระเบียบอย่างเคร่งครัด แต่มีสิ่งหนึ่งที่เค้าให้ความสำคัญไม่แพ้กัน คือ Be present การอยู่กับปัจจุบัน แต่สังคมญี่ปุ่น หรืออาจจะไทยด้วย กำลังมีความท้าทายของ การเร่ง speed ชีวิต ให้เร็วที่สุด เพราะความเชื่อในความสำเร็จคือ ทำอะไรได้มาก ในระยะเวลาที่กำหนดไว้ นั่นคือประสิทธิภาพ แต่เชื่อไหมว่า คนที่ทำอะไรเร็วๆมาทั้งชีวิต บั้นท้ายของขีวิตเขา มักบ่นว่า รู้งี้ ใช้ชีวิตช้าๆ ก็ดีแล้ว
- อจ สุรัตน์
ร้านหมูปิ้งคุณพ่อ เราคิดว่า อร่อยที่สุดในโลก คำว่าอร่อยที่สุดในโลกนี้ ไม่รู้ว่าโลกของใครกัน อย่างน้องคือโลกของฉันเท่านั้น ก็ยัง Ok
วันนี้เป็นวันสุดท้ายของสงกรานต์ 15 เมย. 67 คนไม่ค่อยพลุกพร่านมากนักในช่วงเช้า (สงสัยไม่ตื่น)
มาร้านนี้ทีไร สงสัยทุกที มีตู้ Little Free Library ที่ ไม่ค่อยคุ้นตาในประเทศไทยเท่าไหร่ แต่เออ พอมองในตู้ ก็เป็นหนังสือภาษาอังกฤษ ล้วน
เป็น ideas ที่ดี ที่ เอาหนังสือ มาตั้ง แชร์กันได้ คือมันมากกว่า แชร์ของทั่วไป แต่เป็นของที่มีตัวหนังสือ บรรจุความรู้และเรื่องราว
Little Free Library จริงๆ แล้ว มีการจัดการเป็นระดับ องค์กรนะ ไม่ใช่วางๆ แบบไม่มีการจัดการ
Little Free Library เป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไรตามมาตรา 501(c) (https://littlefreelibrary.org) ที่ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนหนังสือในละแวกใกล้เคียง ซึ่งมักจะอยู่ในรูปแบบของตู้หนังสือสาธารณะ มีการแลกเปลี่ยนหนังสือสาธารณะมากกว่า 150,000 เล่มที่ลงทะเบียนกับองค์กรและตั้งชื่อเป็น Little Free Libraries ผ่าน Little Free Libraries ใน 115 ประเทศ มีการแลกเปลี่ยนหนังสือหลายล้านเล่มในแต่ละปี โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มการเข้าถึงหนังสือสำหรับผู้อ่านทุกวัยและทุกภูมิหลัง องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร Little Free Library ตั้งอยู่ในเซนต์พอล รัฐมินนิโซตา สหรัฐอเมริกา
Little Free Library แห่งแรกสร้างขึ้นในปี 2009 โดย Todd Bol ผู้ล่วงลับในเมืองฮัดสัน รัฐวิสคอนซิน Bol ติดตั้งภาชนะไม้ซึ่งได้รับการออกแบบให้ดูเหมือนอาคารเรียนแบบหนึ่งห้องบนเสาบนสนามหญ้าของเขา และเต็มไปด้วยหนังสือเพื่อไว้อาลัยให้กับแม่ผู้ล่วงลับของเขา คนรักหนังสือ และครูในโรงเรียนที่เพิ่งเสียชีวิต Bol แบ่งปันความคิดของเขากับหุ้นส่วนของเขา Rick Brooks และร่วมกันสร้างและติดตั้งร้านหนังสือเพิ่มเติมในพื้นที่ต่างๆ ของแถบมิดเวสต์ของสหรัฐอเมริกา หลังจากนั้นไม่นาน ความคิดก็เริ่มแพร่กระจาย
Little Free Library ได้รับการจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในฐานะองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2012 และ Internal Revenue Service ได้ยอมรับ Little Free Library เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรตามมาตรา 501(c) ในปลายปีนั้น
เป้าหมายเดิมของ Bol คือการสร้างห้องสมุดเล็กๆ จำนวน 2,510 แห่ง ซึ่งเกินกว่าจำนวนห้องสมุดที่ก่อตั้งโดยแอนดรูว์ คาร์เนกี ในโครงการที่มีการสร้างอาคารห้องสมุดและมอบให้ในเมืองต่างๆ ทั่วสหรัฐอเมริกา บรรลุเป้าหมายนั้นในปี 2555
แนวคิดดีๆ ที่ได้รับการทำให้เป็นจริงนี้ ทำให้การส่งต่อความรู้เป็นไปโดยความร่วมมือกันของผู้คน และมันก็ยั่งยืนเสียด้วย เรื่องนี้ก็เป็นแนวคิดให้เราได้ว่า หากเราคิดอยากทำอะไรเพื่อส่งต่อความคิดดีๆ เพื่อสังคม เริามทำเลย และไอเดียมันจะถูกส่งผ่านกระจายไปได้อย่างยอดเยี่ยมเอง
มาดูรูปสวยๆ Little Free Library ทั่วโลกกัน