วันหนึ่ง ลูกศิษย์ บอกว่า อจ สอนเขียนบทความ ให้ความรู้คนอื่น ให้หน่อย
"จงสอน สิ่งที่ เราอยากรู้เมื่อเรายังเด็กกว่านี้ ไม่มีความรู้อะไร ช่วยเหลือให้เราดีขึ้น"
Teach younger you. สอนคนอื่น เหมือนสอนตัวเองที่ยังเยาว์วัย ไร้เดียงสา
แค่นี้
- อจ สุรัตน์
วันหนึ่ง ลูกศิษย์ บอกว่า อจ สอนเขียนบทความ ให้ความรู้คนอื่น ให้หน่อย
"จงสอน สิ่งที่ เราอยากรู้เมื่อเรายังเด็กกว่านี้ ไม่มีความรู้อะไร ช่วยเหลือให้เราดีขึ้น"
Teach younger you. สอนคนอื่น เหมือนสอนตัวเองที่ยังเยาว์วัย ไร้เดียงสา
แค่นี้
- อจ สุรัตน์
อจ.รักษาคนไข้ไมเกรนมากกี่พันคนแล้ว อืม น่าจะหลายพัน คนไข้บางคน ปวดรุนแรงมาก บ้างหาเหตุได้ บ้างก็หาเหตุไม่เจอ
ทำไมถึงต้องเป็นเรา คนไข้บ่นบ่อย ๆ
เออ อันนี้บางทีก็บอกยาก ไม่ใช่ ไม่มีเหตุ แต่มันหากเหตุไม่เจอ
แต่สัปดาห์ก่อน
หมอ ผมรู้ละ ไมเกรนกำเริบเพราะแฟนปากเหม็น เนี่ย ให้ไปหาหมอฟันก็ไม่ไป ดูไม่ค่อยทำความสะอาด แล้ว ปากเหม็น นี่กลิ่นมันกระตุ้นไมเกรน ใช่ไหมหมอ ?
คนไข้ "ไม่เห็นเหม็นเลย หอม จะตาย" พูดพลาง เอามือมาอังแล้วพ่นลมออกมา หะ หะ นี่แน่ เอาไปดมดู
เหมือนทีเล่นทีจริง คือปากเหม็น ปากไม่สะอาด มันจะไปเกี่ยวกับไมเกรน ยังไง เอ หรือ ปากเหม็น ๆ มันทำให้คนเป็นไมเกรนสูดลมหายใจกระตุ้น ตลอดเวลาหรือเปล่า นะ
ปากเหม็น หรือ สุขภาพช่องปากไม่ดี จริง ๆ ปัจจุบัน มันมีงานวิจัย ที่บ่งว่า มันเกี่ยวกับโรคหลายโรคเลย และ พอค้นใน pubmed ก็พบว่า มีวิจัยล่าสุดที่ตีพิมพ์แล้ว ไมเกรน มันเกี่ยวกับปากเหม็นจริง ๆ นะ
เรื่องจริง ของความเกี่ยวข้องของอวัยวะที่น่าประหลาดใจ
อวัยวะของเราในร่างกายมีหลายอวัยวะ หน้าที่มันแตกต่าง แม้มันอยู่ในร่างกายเดียว แต่เดี๋ยวนี้งานวิจัยได้ชี้ว่า มันมีความเกี่ยวข้องกันแบบคาดไม่ถึง (และนี่ทำให้การรักษาโรคในปัจจุบันแบบแยกส่วน บางทีโรคก็ไม่ได้ดีขึ้นหนะสิ)
อย่างการศึกษาชิ้นใหม่ ที่พบความสัมพันธ์ที่ชัดเจนระหว่างสุขภาพช่องปากที่ไม่ดี (ทำให้ปากเหม็น) ที่มีแบคทีเรียในช่องปาก หรือ ที่เรียกว่า "ไมโครไบโอม" และสมองที่ไวต่อความเจ็บปวด
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยซิดนีย์และ Viome Life Sciences ได้ตั้งคำถามวิจัยถึงความเกี่ยวข้องของอวัยวะที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกัน คือ สุขภาพช่องปากและอาการสมองไวต่อความปวด โดยได้เก็บข้อมูลจากผู้หญิง 158 คนในเมืองโอ๊คแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์ โดยต้องไม่สูบบุหรี่ ไม่มีเบาหวานหรือโรคอักเสบเรื้อรัง ทีมวิจัยได้ใช้แบบสอบถามสุขภาพช่องปากขององค์การอนามัยโลก (WHO), เครื่องมือวัดความเจ็บปวดที่ผ่านการรับรอง, และการวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำลายด้วยเมตา-ทรานสคริปโตมิกส์ เพื่อสำรวจความเชื่อมโยงระหว่างสุขภาพช่องปาก ไมโครไบโอม และความเจ็บปวด
โดยความเจ็บปวดที่ศึกษา ได้แก่ อาการปวดเรื้อรัง เช่น ไฟโบรมัยอัลเจีย ไมเกรน และลำไส้แปรปรวน (IBS) ส่งผลกระทบต่อผู้คนจำนวนมาก โดยเฉพาะในผู้หญิง
ผลการศึกษา
สุขภาพช่องปาก & ความเจ็บปวด
• ผู้ที่มีคะแนนสุขภาพช่องปากต่ำ พูดง่ายๆ คือ ปากเหม็นเพราะมี แบคทีเรียมาก มีคะแนนความเจ็บปวดทางร่างกายสูงขึ้น, ไมเกรนบ่อยขึ้น และปวดท้องมากขึ้น (_p_< 0.001)
• ผู้หญิงที่มีสุขภาพช่องปากแย่ที่สุดมีแนวโน้มที่จะเป็นไมเกรนเรื้อรังหรือถี่มากกว่าคนทั่วไปถึง 2–3 เท่า
ชนิดแบคทีเรียที่เกี่ยวข้อง
• หากพิจารณาชนิด แบคทีเรีย จะมีการพบ Gardnerella, Mycoplasma salivarium , และ Lancefieldella ในระดับสูงเชื่อมโยงกับคะแนนสุขภาพช่องปากที่ต่ำและความเจ็บปวดที่มากขึ้น
• สี่สายพันธุ์ที่สัมพันธ์กับความเจ็บปวดทางร่างกาย ได้แก่
---
มันอธิบายความเกี่ยวข้องกันได้อย่างไร
ผลลัพธ์สนับสนุนแนวคิดเรื่อง แกนประสาท–ไมโครไบโอมในช่องปาก ซึ่งเป็นเส้นทางใหม่ในการเข้าใจอาการปวด โดยสิ่งที่พบ
- เชื้อโรคในช่องปากสามารถปล่อยโมเลกุลที่ก่อให้เกิดการอักเสบ เช่น LPS (lipopolysaccharide) ซึ่งอาจเข้าสู่กระแสเลือดและกระตุ้น การอักเสบของระบบประสาท
- แบคทีเรียอย่าง Mycoplasma salivarium กระตุ้นเซลล์ภูมิคุ้มกันในเหงือกและผลิตไซโตไคน์อักเสบ ซึ่งเคยพบในข้อต่อของผู้ป่วย TMJ (ขากรรไกร)
- จุลชีพบางชนิดสามารถกระตุ้นการผลิต CGRP และ VEGF ซึ่งมีบทบาทในการเพิ่มสัญญาณปวดและพบในระดับสูงในไมเกรนและไฟโบรมัยอัลเจีย
นั่นแสดงว่า การมีสุขภาพช่องปากไม่ดี ปล่อยให้แบคทีเรียปากเหม็น มาสร้างรังอยู่ มันจะทำให้เกิดการอักเสบเข้าไปในกระแสเลือดได้ และสารเหล่านั้นก็ทำให้สมองตอบสนองให้ไวขึ้น
โอว นี่ต่อไปรักษาคนไข้ไมเกรน ต้องให้เค้าอ้าปากให้ดมว่าเหม็นหรือเปล่านะ
เรื่องนี้ทำให้เห็นว่า หากปวดเรื้อรัง สำรวจ ช่องปากตัวเองให้ดี ไม่แน่ อาจทำให้อาการปวดที่เป็นหายก็ได้ หากรักษาช่องปากให้ดีนะ
- อจ สุรัตน์
ตัวกีกี้ มันน่ารำคาญ ร้องกีกี้ กีกี้ มาตายแทนหัวหน้า ไม่มีประโยชน์อะไรเลย พวกกระบวนการ shocker ที่มีแต่ตัวกีกี้
ในการประชุมสภาของประเทศไทย มีแต่ “ตัวกีกี้” องครักษ์พิทักษ์หัวหน้า ประท้วงกันไร้สาระ จับประเด็นไม่ได้ เต็มไปหมด เนื้อหามีแต่พร้อมพลีกาย ถวายหัวให้ได้ scene มันก็จะมีแต่เสียง “กีกี้ กีกี้ กีกี้” เต็มไปด้วยตัวคั่นเวลา ไม่ว่าจะฝ่ายไหน เห็นทีไร ก็แบบนี้บ่อยมาก
ในหลาย ๆ ที่ประชุม บางทีก็เต็มไปด้วย “ตัวกี้กี้” เหมือนกัน ทำให้เมื่อครบเวลา เฮ้ย สรุปเนื้อหาเป็นไงวะเนี่ย — ไม่ได้เกิดประโยชน์อะไรเลย
แต่ในวงการธุรกิจสตาร์ทอัพ ผู้ก่อตั้ง ต้องเร่งพลัง ทำให้การประชุมทีมไม่ใช่แค่พิธีกรรม แต่เป็นพื้นที่สำคัญที่ไอเดียใหม่ๆ จะถูกผลักดัน ปัญหาจะถูกคลี่คลาย และทิศทางของทีมจะถูกกำหนดร่วมกัน
ในโลกของสตาร์ทอัพ วันนี้มาคุยกันว่า เราจะ conduct งานประชุมอย่างไร ไม่ให้คนที่มีส่วนร่วม ไม่ใช่ตัวกีกี้
ในการประชุมทีมสตาร์ทอัพ เราไม่ได้ต้องการแค่เสียงให้ห้องดูมีชีวิต แต่ต้องการ ความคิดที่นำไปสู่การตัดสินใจและการลงมือทำ
เพื่อลดบทบาทของ “ตัวกี้กี้” — คนที่พูดเยอะแต่ไม่สร้างคุณค่า — ลองใช้ 7 แนวทางนี้
1. เริ่มประชุมด้วย “เป้าหมายชัดๆ”
เปิดประชุมด้วยคำถาม: “วันนี้เราจะออกจากห้องนี้ไปพร้อมอะไร?”
ไม่ใช่แค่ประชุมให้ครบ แต่ประชุมให้ เกิดผลลัพธ์
เป้าหมายชัด = ทุกคนมีทิศทางร่วม
2. ให้บทบาทชัดเจนกับผู้เข้าร่วม
ตอบให้ได้ว่าใครเป็น “ผู้ตัดสินใจ / ผู้ให้ข้อมูล / ผู้ลงมือ / ผู้ฟัง”
คนที่ไม่มีบทบาทไม่ควรถูกบังคับให้อยู่ในห้อง หรือสามารถรับรู้ผ่านสรุปภายหลังได้
3. ผู้นำประชุมสำคัญที่สุด
เพราะ “การประชุมที่ดี” มักมาจาก “การเตรียมตัวที่ดี”
หน้าที่ของผู้นำประชุม:
ตั้งเป้าให้ชัด
คุมจังหวะให้กระชับ
ดึงคนเงียบให้พูด
เบรกคนพูดเยอะให้เข้าเรื่อง
สรุปและส่งไม้ต่อให้ชัดเจน
อย่าปล่อยให้ห้องประชุมถูกยึดโดยคนเสียงดังแต่ไร้ทิศทาง
4. พูดเพราะ “คิดแล้ว” ไม่ใช่เพราะ “ต้องพูด”
อย่าเปล่งเสียงเพื่อความอยู่รอด
Startup ต้องการ Idea ที่นำไปใช้ได้จริง ไม่ใช่ “คอมเมนต์ที่ไม่มีวันต่อยอด”
5. ให้เวลาคิดก่อนพูด
ใช้หลัก “Think–Write–Speak”
ให้ทุกคนจดความคิดก่อน แล้วจึงแชร์
ช่วยให้ไอเดียมีคุณภาพ ลดการพูดแบบน้ำท่วมทุ่ง
6. เคารพเวลา = เคารพทีม
เวลาในสตาร์ทอัพคือทรัพยากรที่แพงที่สุด
การพูดนอกเรื่อง การลากยาว การพูดซ้ำซาก = เบิร์นพลังของทีมแบบไร้ค่า
7. สรุปชัด ใครทำอะไรต่อ
“ประชุมที่ดี = ทุกคนรู้ว่าต้องทำอะไรหลังจากนี้”
ไม่มี Action ไม่มี Owner = เสียเวลาเปล่า
"ห้องประชุมไม่ใช่เวทีคั่นเวลา"
ถ้าคุณแค่พูดแต่ไม่คิด = “ตัวกี้กี้”
ถ้าคุณนำประชุมไม่เป็น = “ปล่อยทีมล่องลอย”
ถ้าอยากสร้างทีมที่ขับเคลื่อนจริง ต้องประชุมแบบมีคุณภาพ ไม่ใช่แค่ครบคน
"คำพูดที่เศร้าที่สุดในโลกอาจเป็นเพียงคำว่า ‘มันอาจจะเป็นไปได้’" — John Greenleaf Whittier
ความเสียใจคือประสบการณ์ร่วมของมนุษย์ แต่กลับเป็นสิ่งที่เราเข้าใจผิดอยู่เสมอ หลายคนคิดว่าความเสียใจเกิดจากอดีต—จากความผิดพลาด โอกาสที่พลาดไป หรือความสัมพันธ์ที่จบลง ทว่าในความเป็นจริง น้ำหนักที่แท้จริงของความเสียใจ อาจไม่ได้อยู่ที่สิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว แต่อยู่ที่ “อนาคต” ที่เราคิดว่าเราได้สูญเสียไปต่างหาก
แม้ความเสียใจเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้และเป็นธรรมชาติของสิ่งมีขีวิต แต่บางครั้ง มันกลับดึงเราให้ตกหลุมลึกที่หาทางขึ้นไม่เจอ และวิ่งอยู่ในวังวนของความเสียใจ ซึ่งอาจทำให้เสียช่วงเวลาของชีวิตเราไปอย่างน่าเสียดาย เราจึงควรเรียนรู้ จิตวิทยาแห่งความเสียใจ ไว้เป็นเกราะป้องกันตัวเองและสร้างเกราะให้คนที่เรารัก
แม้โดยผิวเผิน ความเสียใจจะดูเหมือนเป็นอารมณ์ที่หวนคิดถึงอดีต แต่งานวิจัยทางจิตวิทยากลับพบว่า ความเสียใจนั้นมีลักษณะ “มองไปข้างหน้า”
Neal Roese นักจิตวิทยา ที่มีงานเรื่องความเสียใจ >> wiki https://en.wikipedia.org/wiki/Neal_Roese
จากการศึกษาโดย Neal Roese นักจิตวิทยาชั้นนำในปี 2005 ชี้ให้เห็นว่า ความเสียใจไม่ได้เกิดจากการคิดวนเวียนกับอดีตเท่านั้น แต่เป็นการ “จินตนาการว่าอดีตควรจะนำไปสู่ปัจจุบันหรืออนาคตที่ดีกว่านี้” กล่าวอีกนัยหนึ่ง มันคือการคิดแบบ “ถ้าตอนนั้นฉัน…” ซึ่งเป็นการสร้างภาพอนาคตทางเลือกที่ไม่มีวันเกิดขึ้นจริง
ข้อมูลจาก สมาคมจิตวิทยาอเมริกัน (APA) ยังระบุว่า ความเสียใจมักจะมาพร้อมกับความวิตกกังวล ความกลัว หรือความเศร้า ซึ่งไม่ได้เกิดจากเหตุการณ์ในอดีตโดยตรง แต่เกิดจากสิ่งที่เราคิดว่า “มันน่าจะเกิดขึ้นได้” ในอนาคตต่างหาก
จิตวิทยาการรู้คิด (Cognitive Psychology) บอกเราว่า ความเสียใจรุนแรงขึ้นเพราะกระบวนการคิดบางแบบ เช่น
การคิดแบบหายนะ (Catastrophizing): มองผลลัพธ์แย่ๆ ว่าร้ายแรงเกินจริง
การอุดมคติ (Idealization): มองอนาคตที่ไม่ได้เกิดขึ้นว่า “สมบูรณ์แบบ”
หนังสือ mode สำหรับการคิดเร็วและช้า โดย Daniel Kahneman
ในหนังสือ Thinking, Fast and Slow นักเศรษฐศาสตร์และนักจิตวิทยา Daniel Kahneman อธิบายว่า มนุษย์มีแนวโน้มจะ “กลัวการสูญเสีย” มากกว่าชื่นชมสิ่งที่ได้มา เราจึงรู้สึกเจ็บปวดกับ “อนาคตที่ไม่เกิดขึ้น” มากกว่าการยอมรับปัจจุบันที่มี
เช่น คนที่เสียใจที่ไม่เลือกเส้นทางอาชีพหนึ่งในอดีต จริงๆ แล้วเขาไม่ได้เสียใจแค่เรื่องการตัดสินใจ แต่กำลังโศกเศร้ากับ “ตัวตนที่เขาเชื่อว่าเขาน่าจะได้เป็น” ซึ่งล้วนมาจากจินตนาการทั้งสิ้น
ลองฟังเรื่องของ เอล นักดนตรีผู้มีพรสวรรค์ เธอเคยได้รับโอกาสไปเรียนต่อเมืองนอก แต่เธอปฏิเสธไป 20 ปีผ่านไป เธอไม่ได้เสียใจกับใบสมัครที่ไม่ได้ส่ง หรือเครื่องบินที่ไม่ได้ขึ้น แต่เสียใจกับ “ตัวเองที่น่าจะเป็น” — ศิลปินชื่อดัง ผู้เดินทางไปทั่วโลก
หรือเรื่องของ มาร์ก ผู้เลิกกับคนรักเพราะกลัวการผูกมัด แม้วันนี้เขาจะแต่งงานมีความสุขแล้ว แต่บางครั้งก็ยังรู้สึกเสียใจ ไม่ใช่เพราะอยากย้อนเวลากลับไป แต่เพราะเขาสงสัยว่า “ชีวิตจะเป็นอย่างไรถ้าเลือกอีกทางหนึ่ง”
คำกล่าวของ Steve Jobs ก็เตือนสติเราไว้ว่า:
"เวลาของคุณมีจำกัด อย่าใช้มันไปกับการใช้ชีวิตตามแบบของคนอื่น อย่าติดอยู่กับกรอบความคิดที่ไม่ได้เป็นของคุณ"
ความเสียใจหลายอย่างไม่ได้เกิดจากสิ่งที่เราต้องการจริงๆ แต่มาจากสิ่งที่สังคมหรือคนรอบตัวคาดหวังให้เราเป็น
งานวิจัยของ Thomas Gilovich และ Victoria Medvec แห่งมหาวิทยาลัยคอร์แนล พบว่า ผู้คนมักเสียใจกับ “สิ่งที่ไม่ได้ทำ” มากกว่าสิ่งที่ทำไปแล้ว
เหตุผลก็คือ การไม่ลงมือทำอะไรเลย เปิดโอกาสให้เราคิดไปได้ไม่มีที่สิ้นสุดว่า “มันน่าจะออกมาดีแค่ไหน” ขณะที่สิ่งที่เราทำไปแล้ว มีผลลัพธ์ชัดเจนให้เห็น
งานวิจัยยังเชื่อมโยงความเสียใจกับปัญหาทางสุขภาพจิต เช่น ภาวะซึมเศร้า ความเครียดเรื้อรัง และการตัดสินใจที่ไม่ดีในอนาคต มันยังทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “การปิดเรื่องราวชีวิต” (Narrative Foreclosure) — การที่คนๆ หนึ่งเชื่อว่า ชีวิตของเขาจบแล้ว เปลี่ยนอะไรไม่ได้อีกต่อไป
แล้วเราจะทำอย่างไร เพื่อไม่ให้ความเสียใจฉุดรั้งชีวิตไว้?
1. คิดกลับอีกด้าน (Counter-Counterfactual Thinking):
ไม่ใช่แค่คิดว่า “มันน่าจะดีกว่านี้” แต่ลองคิดว่า “มันอาจจะแย่กว่านี้ก็ได้” วิธีนี้ช่วยฝึกใจให้รู้สึกขอบคุณกับปัจจุบัน
2. ถามตัวเองว่าเสียใจเพราะอะไร:
เสียใจเพราะเราอยากทำจริงๆ หรือเพราะใครๆ ก็บอกว่าควรทำ? บ่อยครั้งความเสียใจเกิดจากการไม่เป็นตามความคาดหวังของคนอื่น ไม่ใช่ของตัวเราเอง
3. เปลี่ยนความเสียใจให้เป็นพลัง:
Victor Frankl นักจิตวิทยาและผู้รอดชีวิตจากค่ายกักกัน เคยกล่าวว่า “เมื่อความทุกข์มีความหมาย มันก็จะไม่ใช่ความทุกข์อีกต่อไป”
เราสามารถใช้ความเสียใจเป็นแรงผลักดันในการสร้างชีวิตใหม่ที่ดีกว่าเดิม
ความเสียใจไม่ใช่แค่เงาสะท้อนของอดีต แต่มันคือภาพสะท้อนของ “อนาคตที่ไม่ได้เกิดขึ้น” แต่แทนที่เราจะปล่อยให้อนาคตที่ไม่เป็นจริงนั้นมาหลอกหลอน เราสามารถเปลี่ยนมันเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างชีวิตใหม่ในวันนี้
ให้ความเสียใจมีความหมาย เป็นแรงผลักดันให้เราก้าวไปข้างหน้านะครับ
-อจ สุรัตน์
คนไข้หญิง อายุ 40 ปลาย เข้ามาหา บอกว่า ปวดเนื้อตัว แสบร้อน วันนึง ขยับแขนไม่ได้ เดี๋ยวซ้าย เดี๋ยวขวา ชาก็วิ่งวัน รักษามา 6 เดือนไม่หาย
ไป MRI ไม่เจออะไร ซักลึกลงไป มีความเครียดสูงมาก ค่ามะเร็งขึ้น ตรวจเยอะแยะไปหมด แม้ไม่เจอมะเร็งแต่ความเครียดฝังตัวไปแล้ว กลายเป็นคนวิตกและเกิดอาการทางกาย ทางระบบประสาท แบบไม่ทราบเหตุ
อจ ตรวจวิเคราะห์แล้วบอกว่ามันคือ Functional Neurological Disorder (FND) คือความผิดปกติที่เกิดขึ้น สมองสั่งมา แต่ไม่มีโรคจริง เรียกง่ายว่า "โรคใจสั่งมา" ตามเพลงพี่เสก โลโซ
คนเราอยู่ในสังคมที่มีแต่เรื่องที่ทำให้เกิดความเครียด กลายคนกลายเป็นคน sensitive ไวต่อทุกเรื่อง เสพข่าวกระตุ้นอารมณ์ อยู่กับเวลาที่วิ่งเร็ว จนจิตใจเหนื่อยล้าตามไม่ทัน กลายเป็นจิตใจไม่ปกติ ตกใจ วุ่นวายกับทุกสิ่ง
คนไข้บอกว่า สมองมันชินกับความเครียดไปแล้ว ผ่อนคลาย กลายเป็นเรื่องไม่ปกติ
อจ. รักษาและบอกไปว่า ไม่เป็นอะไร ไม่ใช่ multiple sclerosis, ไม่ใช่มะเร็ง ใจเย็น ๆ จงเรียบง่ายโดยสมัครใจ
ความเรียบง่ายโดยสมัครใจ - จงเลือกอยู่อย่างเรียบง่ายในโลกที่ซับซ้อน
ความเรียบง่ายโดยสมัครใจ ภาษาอังกฤษ เรียก Voluntary simplicity เป็น ปรัชญาที่สนับสนุนการใช้ชีวิตแบบมินิมัลลิสต์อย่างตั้งใจ โดยให้ความสำคัญกับประสบการณ์ที่มีความหมายมากกว่าทรัพย์สินวัตถุ
หัวใจสำคัญของความเรียบง่ายโดยสมัครใจคือการปรับวิถีชีวิตให้สอดคล้องกับคุณค่าของตนเอง ลดความเครียดที่ไม่จำเป็น และส่งเสริมสุขอย่างยั่งยืน
ความเรียบง่ายโดยสมัครใจไม่ใช่การขาดแคลน แต่เป็นการเลือกอย่างตั้งใจ
ภาพ Henry David Thoreau จาก >> https://www.americanessence.com/henry-david-thoreau-a-man-who-took-simplicity-to-heart_10408.html
A man who took simplicity to heart
เฮนรี เดวิด ธอโร (Henry David Thoreau) ได้กล่าวไว้ว่า “ชีวิตของเราถูกทำให้สูญเปล่าไปกับรายละเอียด... จงทำให้เรียบง่าย ทำให้เรียบง่าย”
ความไม่ซับซ้อน ทำให้ชีวิตมีความสุขขึ้น
การศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Consumer Psychology (2014) พบว่า บุคคลที่ให้ความสำคัญกับคุณค่าภายใน เช่น ความสัมพันธ์และการเติบโตส่วนบุคคล มีความพึงพอใจในชีวิตมากกว่าผู้ที่ถูกขับเคลื่อนด้วยความมั่งคั่งทางวัตถุ
การศึกษาในวารสาร Personality and Social Psychology Bulletin (2017) พบว่า ผู้ที่ให้คุณค่าแก่เวลามากกว่าเงินมักจะมีความสุขมากกว่า การทำให้ชีวิตเรียบง่ายสามารถนำไปสู่การมีสติมากขึ้น ลดภาระทางความคิด และปรับปรุงสุขภาพโดยรวม
อย่าง วิธี KonMari โดย มารี คอนโดะ (Marie Kondo) สนับสนุนให้เก็บเฉพาะสิ่งของที่ “จุดประกายความสุข Sparking joy" เท่านั้น จงทิ้งและบอกลาอย่างมีความสุข บ๊ายบาย ของมากมาย ขอบคุณที่อยู่กับเรานะ แต่ฉันจะทำให้ตัวเบาขึ้นแล้ว
โลกวิ่งเร็วเราไม่ต้องไปวิ่งตามมันหรอก เราเดินในจังหวะของเรา จังหวะที่มีความสุข ไม่ต้องไปตามใคร
- อจ สุรัตน์
หากมองย้อนกลับไปได้ คิดว่า อะไรคือทักษะที่สำคัญที่สุดของการเป็นหัวหน้า
คงมีคำตอบหลายประการ แต่หนึ่งใน top list สำหรับ อจ เลย คือการมอบหมายงาน
ในฐานะผู้นำ คุณอาจเคยรู้สึกว่าต้องรับผิดชอบทุกสิ่งด้วยตัวเอง แต่ความจริงแล้ว การพัฒนาทักษะ “การมอบหมายงาน” ช่วยให้คุณลดภาระ และช่วยสร้างทีมที่ดีและผลักดันองค์กรให้เติบโตอย่างรวดเร็ว
นี่คือ 5 กลยุทธ์สำคัญ ที่จะช่วยให้คุณฝึกฝนการมอบหมายงานอย่างมีประสิทธิภาพ!
แทนที่จะบอกทีมว่าต้องทำอย่างไรทีละขั้นตอน ลองมอบหมายผลลัพธ์ที่คุณคาดหวัง พร้อมเหตุผลเบื้องหลังที่ชัดเจน วิธีนี้จะช่วยให้ทีมได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ และคุณสามารถโฟกัสกับสิ่งสำคัญได้มากขึ้น
💡 ตัวอย่าง:
แทนที่จะพูดว่า
“แก้ไขรายงานตามวิธีนี้”
ให้พูดว่า
“ฉันอยากได้รายงานที่แสดงข้อมูลชัดเจนเพื่อช่วยเราตัดสินใจได้เร็วขึ้น ลองเสนอไอเดียของคุณดู!”
หนึ่งในความกังวลใหญ่ของผู้นำคือ “งานจะไม่เสร็จตามเวลา” วิธีแก้ปัญหาคือ การตั้งจุดตรวจสอบความคืบหน้า ที่ชัดเจน เช่น การประชุมประจำสัปดาห์
เป้าหมายของกรอบนี้ไม่ใช่การควบคุม แต่คือการช่วยทีมรักษาทิศทาง และเปิดโอกาสให้คุณแนะนำเมื่อจำเป็น
💡 เคล็ดลับ:
จัดประชุมสั้นๆ ทุกสัปดาห์เพื่อให้ทีมรายงานความคืบหน้า
ใช้คำถามเชิงแนะนำ เช่น “สิ่งที่คุณต้องการความช่วยเหลือตอนนี้คืออะไร?”
บางครั้งเรากังวลว่าสิ่งที่มอบหมายจะไม่ “ถูกต้อง” หรือไม่ตรงกับเป้าหมายขององค์กร ลองแก้ไขด้วยการสร้าง “ตัวกรองการตัดสินใจ” ที่ช่วยให้ทีมตัดสินใจได้ในแนวทางที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของคุณ
💡 ตัวอย่าง:
สร้างหลักการ 3-5 ข้อ เช่น
“ทุกการตัดสินใจต้องคำนึงถึงประโยชน์ต่อลูกค้าก่อน”
“เลือกวิธีที่ประหยัดทรัพยากรที่สุดเสมอ”
การปล่อยมือจากความสมบูรณ์แบบอาจเป็นเรื่องยาก แต่ในหลายกรณี “80% ที่ทีมทำ” อาจดีกว่า “100% ที่คุณทำเอง”เพราะช่วยให้คุณประหยัดเวลาและพลังงานไปโฟกัสเรื่องสำคัญกว่า
💡 วิธีปฏิบัติ:
หากงานที่เสร็จไม่ตรงตามมาตรฐานของคุณ 100% ให้ถามตัวเองว่า:
“งานนี้เพียงพอที่จะบรรลุเป้าหมายไหม?”
ถ้าคำตอบคือ “ใช่” ปล่อยไปเลย!
การมอบหมายงานไม่ใช่แค่ลดงานของคุณ แต่คือการพัฒนาทีมให้เติบโต คุณควรติดตามว่าแต่ละไตรมาส คุณมอบหมายงานเพิ่มขึ้นไหม และทีมของคุณพัฒนาทักษะใหม่ๆ ได้มากน้อยเพียงใด
💡 ตัวอย่าง:
วางแผนทบทวนงานที่คุณมอบหมายในแต่ละไตรมาส
ถามตัวเองว่า:
“ทีมของฉันสามารถทำอะไรใหม่ๆ โดยไม่ต้องพึ่งฉันมากขึ้นหรือเปล่า?”
การมอบหมายงานคือศิลปะ มันไม่ได้อยู่ก็รู้เลยหรอก เพราะมันต้องอาศัยการมองคน การมองงานที่เหมาะ และการติดตามทีมงาน การ empower ด้วย แต่หากเราทำได้ดี มันจะเปลี่ยนวิธีการทำงานของทั้งทีม
#Leadership #TeamBuilding #Delegation #Entrepreneurship #GrowthMindset
ค้นพบภาวะ หยุดชะงัก (pause) ในการสร้างโปรตีนที่ก่อโรคอัลไซล์เมอร์
งานวิจัยล่าสุดเกี่ยวกับโรค Alzheimer’s ค้นพบข้อมูลเชิงลึกใหม่เกี่ยวกับไดนามิกของ amyloid fibrils โดยเฉพาะในภาวะที่เรียกว่า "paused state" ของการเติบโตของ amyloid fibril
การเกิดอัลไซล์เมอร์
เราต้องเข้าใจก่อนว่า โรคสมองเสื่อม ฮัลไซล์เมอร์นั้น ยังรักษาไม่หาย แม้มีการค้นพบโรคมากกว่าร้อยปี แต่การรักษาที่ใช้กันทั่วไป ทำให้อาการของโรคน้อยลงบ้างเท่านั้น
สาเหตุของโรคอัลไซล์เมอร์เกิดจากสารโปรตีนพิษที่สะสม ในสมองชื่อ Amyloid fibrils เป็นโครงสร้างโปรตีนที่ผิดปกติ ซึ่งสะสมในสมองของผู้ป่วยโรค Alzheimer’s โดยโครงสร้างเหล่านี้ส่วนใหญ่ประกอบด้วยโปรตีน amyloid beta (Aβ) ที่ผิดพลาดในการพับตัวและจับกลุ่มกันจนเกิดเป็นเส้นใยที่ไม่ละลายน้ำ และเกิดการทำลายเซลล์ผ่านกลไกต่าง ๆ
การรักษาที่พยายามกันคือ การค้นคิดยาที่กำจัดตัว โปรตีนเป็นพิษนี้ และมียาที่เป็นกลุ่ม antibody ในการทำให้โปรตีนอะมัยลอยออกจากสมองหรือหยุดการก่อร่างสร้างตัวขึ้น แต่นั่นก็ไม่ใช่เรื่องง่าย
การค้นพบภาวะ Paused State หรือ ภาวะหยุดชะงัก
นักวิจัยได้สังเกตว่าระหว่างการก่อตัวของ amyloid fibrils มีภาวะหนึ่งที่เรียกว่า paused state ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ชั่วคราว ในระหว่างนี้ fibrils จะไวต่อการโต้ตอบกับปัจจัยภายนอก เช่น แอนติบอดี ที่เป็นสารที่จะต้านการสร้างอะมัยลอย
แอนติบอดีสามารถจับกับส่วนที่เฉพาะเจาะจงของ fibrils ที่กำลังเติบโตอยู่ ทำให้การรวมตัวของมันหยุดลง การโต้ตอบนี้สร้างโอกาสสำคัญสำหรับการบำบัดที่มุ่งเน้นการชะลอหรือหยุดการลุกลามของโรค Alzheimer’s
ผลกระทบต่อการรักษา
การค้นพบ paused state นี้เป็นเส้นทางใหม่ สำหรับการพัฒนาวิธีการรักษาที่มุ่งเน้น amyloid fibrils ด้วยการใช้ประโยชน์จากช่วงเวลานี้ การรักษาที่ออกแบบมาเพื่อเสริมสร้างการจับของแอนติบอดีหรือเลียนแบบการตอบสนองตามธรรมชาติของระบบภูมิคุ้มกันอาจช่วยลดการสะสมของ amyloid ที่เป็นพิษในสมอง ซึ่งอาจชะลอการพัฒนาโรค Alzheimer’s ได้
บริบทเพิ่มเติม
งานวิจัยอื่นๆ ที่เพิ่งเปิดเผยออกมาได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกลไกที่อยู่เบื้องหลังการก่อตัวของ amyloid fibrils และผลกระทบของมันต่อการทำงานของระบบประสาท ตัวอย่างเช่น การวิจัยที่ใช้เทคนิคการถ่ายภาพขั้นสูงทำให้พบการมีอยู่ของ "superspreader fibrils" ซึ่งมีความสามารถในการกระตุ้นการก่อตัวของ fibrils ใหม่อย่างรวดเร็ว ทำให้โรคลุกลามได้เร็วขึ้น
นอกจากนี้ การศึกษาด้านชีววิทยาเชิงโครงสร้างยังได้ระบุสารประกอบเฉพาะที่สามารถโต้ตอบกับ amyloid fibrils ได้ ซึ่งอาจนำไปสู่กลยุทธ์ใหม่ในการยับยั้งการรวมตัวของ fibrils และลดความเป็นพิษต่อเซลล์
เนื่องด้วยวันนี้ อจ จะต้องประชุมสุดยอดผู้นำด้านสมองเสื่อมแห่งประเทศไทย ก็ได้ ค้นงานวิจัย ที่ update ต่าง ๆ และเห็นว่า การรักษาโรคสมองเสื่อม อัลไซล์เมอร์ มีใกล้ความจริงมากขึ้นนั่นเอง ภายใน 5 ปีนี้ เราจะได้เห็น ยาที่รักษาอัลไซล์เมอร์และเป็นจุดเปลี่ยนประวัติศาสตร์การรักษาโรคนี้อย่างแน่แท้
- อจ สุรัตน์